QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Thunbergia grandiflora
|
ชื่อสามัญ |
Bengal Trumpet
|
ชื่ออื่น |
ช่ออินทนิล/ช่องหูปากกา/น้ำผึ้ง/ปากกา/ย่ำแย้
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ACANTHACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้เลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปไข่
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะรูปทรงใบจะเป็นรูปไข่แกมรูป หัวใจ หรือใบคล้ายใบพลูเพียงแต่ปลายใบจะแหลมกว่าใบพลู โคนใบเว้าหยักเป็นรูปหัวใจ
ใบมีขนแข็ง ๆ หากจับดูจะรู้สึกระคายมือใบมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
|
ลักษณะของใบ |
เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะรูปทรงใบจะเป็นรูปไข่แกมรูป หัวใจ หรือใบคล้ายใบพลูเพียงแต่ปลายใบจะแหลมกว่าใบพลู โคนใบเว้าหยักเป็นรูปหัวใจ
ใบมีขนแข็ง ๆ หากจับดูจะรู้สึกระคายมือใบมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
|
ลักษณะของผล |
ค่อนข้างกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แล้วแตก
|
ลักษณะของดอก |
ดอกสีฟ้าอ่อนถึงสีฟ้าเข้ม อกดอกเป็นช่อตามข้อต้นหรือตามซอกใบ ดอกช่อ
หนึ่ง ๆ ยาวประมาณ 3 ฟุต ลักษณะของดอกเป็นทรงกรวย ห้อยลง มี 5 กลีบ ขนาดของกลีบ
ดอกไม่เท่ากัน โคนดอกเป็นหลอดปลายบานออก ภายในดอกมีเกสร 4 อัน ซึ่งมีความยาว
ไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน
|
รายละเอียดของเปลือก |
ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของต้น |
เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลประมาณ
40-50 ฟุต เถาอ่อนมีสีเขียวเข้ม ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล
|
ประโยชน์ |
ราก ใบ ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย
ใบใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง
ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้ ราก ใบ ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ใบใช้เป็นยารักษาแผลสด แผลถลอก และช่วยห้ามเลือด
ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทา พอก หรือเคี้ยวกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน และหูด
ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ บวมเป็นก้อน ติดเชื้อ
รากและเถาใช้เป็นยาพอกแก้ฟกช้ำบวม หรือใช้ตำพอกแผลแก้อักเสบ
ใบใช้เป็นยารักษากระดูกหัก มีอาการปวดกระดูก
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|