ไม้ประดับอื่นๆ | Sealing-wax palm, Lipstick palm, Raja palm, Maharajah palm

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cyrtostachys renda Blume

ชื่อสามัญ

Sealing-wax palm, Lipstick palm, Raja palm, Maharajah palm

ชื่ออื่น

กับแดง, กะแด็ง, หมากวิง

วงค์ หมวดหมู่

ยังไม่จัดหมวด

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ประดับอื่นๆ

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

เพาะเมล็ด แยกหน่อ

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปหยักแบบขนนก

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อแยกแขนง

ประเภทของดอก

ช่อแยกแขนง

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 45-55 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบด้านบนสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อนมีสีเหลือบเงินเล็กน้อย เป็นมันก้านใบและกาบใบสีแดงสด

ลักษณะของใบ

ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 45-55 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบด้านบนสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อนมีสีเหลือบเงินเล็กน้อย เป็นมันก้านใบและกาบใบสีแดงสด

ลักษณะของผล

ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลมรี ขนาด 0.8 เซนติเมตร ผลแก่สีดำ เมล็ดกลมรี

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นช่อคล้าย สีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว ประมาณ 50 เซนติเมตร จั่นหมาก ขนาดของดอกเล็กมีสีเหลืองอมเขียว หรือสีขาวนวล ผลเป็นลูกกลมๆเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่ จะกลายเป็นสีแดง สดผลๆหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง

รายละเอียดของเปลือก

เป็นข้อปล้องตรง ลำต้นก็เกิดจากหน่อและสูงประมาณ 10-20 ฟุต มีสีน้ำตาลอมเขียวแต่เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว

ลักษณะของต้น

ป็นพรรณไม้ปาล์มที่ลำต้นผอม

ประโยชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับสวนหย่อม ผล (เมล็ด) ใช้ขบเคี้ยว เพื่อรักษาเหงือก และฟันให้คงทน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า คนแก่ที่กินหมากฟัน จะไม่ค่อยเสีย ใช้รักษาอาการท้องเดิน ท้องเสีย ราก นำมาต้มกิน แก้ปากเปื่อย ขับปัสสาวะ และโรคบิด ใบ นำมาต้มกิน เป็นยาขับพิษ นำมาทาแก้คัน เมล็ดหมาก เมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยางและสารอัลคาลอยด์ ชื่อ Arecoline มีแทนนิน (Tannin) สูง จึงสามารถใช้ในทาง อุตสาหกรรมและยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ใช้ทำสีต่าง ๆ ใช้ย้อมแห อวน ทำให้แห และอวนนิ่ม และอ่อนตัว ยืดอายุการใช้งานได้นาน เส้นด้าย ไม่เปื่อยเร็ว ใช้สกัดทำยารักษาโรค เช่น ยาสมานแผล ยาขับพยาธิในสัตว์ ยาแก้ท้องเดิน ท้องเสีย ยาขับพิษ ยาทาแก้คัน น้ำมันนวด ยาขับปัสสาวะ และยาแก้ปากเปื่อย เป็นต้น

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย