QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Somaneo Saman(Jacg.)Merr
|
ชื่อสามัญ |
Rain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod
|
ชื่ออื่น |
ก้ามกราม , ก้ามกิ่ง, ก้ามปู, ฉำฉา, ตุ๊ดตู่, สารสา
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LEGUMINOSAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
เพาะเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปไข่กลับ
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เป็นเกล็ด
|
ลักษณะของใบ |
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2-10 คู่ ใบรูปไข่รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบบิดเบี้ยว ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ไม่มีก้านใบย่อย
|
ลักษณะของใบ |
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2-10 คู่ ใบรูปไข่รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบบิดเบี้ยว ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ไม่มีก้านใบย่อย
|
ลักษณะของผล |
เป็นฝักแห้ง รูปขอบขนาน สีน้ำตาลดำ กว้าง 1.5-2.4 ซม. ยาว 15-20 ซม. คอดเป็นตอนระหว่างเมล็ด เมล็ด แบนสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน กว้าง 6 มม. ยาว 10 มม.
|
ลักษณะของดอก |
สีเหลืองปนเขียว กลีบเลี้ยง 7-8 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดเป็นถ้วย ปลายแยก 5 แฉกเป็นรูปแตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวโผล่พ้นกลีบดอก สีชมพูอ่อน บริเวณโคนมีสีขาว ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3 ซม. ช่อดอกรวมบานเต็มที่กว้าง 5-6 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก
|
รายละเอียดของเปลือก |
ขรุขระ สีน้ำตาล
|
ลักษณะของต้น |
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ
|
ประโยชน์ |
ใบ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดแก้โรคผิวหนัง เปลือกสมานแผลในปาก เนื้อไม้แกะสลักทำเป็นเฟอร์นิเจอร์
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|