QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia winitii Craib
|
ชื่อสามัญ |
ไม่มี
|
ชื่ออื่น |
คิ้วนาง
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LEGUMINOSAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นและดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง และชอบแสงแดดจัดแบบเต็มวัน
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับระนาบเดียว
|
รูปร่างของใบ |
รูปไข่
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เป็นเกล็ด
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบค่อนข้างกลม ปลายใบมนเว้าลึกเกือบถึงโคนใบเป็นสองแฉก เกิดช่องว่างเป็นระยะห่างระหว่างสองแฉกประมาณ 0.8-1.6 เซนติเมตร ปลายของแต่ละแฉกจะมน โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบค่อนข้างกลม ปลายใบมนเว้าลึกเกือบถึงโคนใบเป็นสองแฉก เกิดช่องว่างเป็นระยะห่างระหว่างสองแฉกประมาณ 0.8-1.6 เซนติเมตร ปลายของแต่ละแฉกจะมน โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ
|
ลักษณะของผล |
อกผลเป็นฝักแบนขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปใบหอก ฝักบิดเล็กน้อย ผิวฝักเรียบเนียนเป็นสีน้ำตาลอมแดง ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ12-30 เซนติเมตร ส่วนก้านผลนั้นยาวได้ประมาณ 6-9.5 เซนติเมตร
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อกระจะขนาดใหญ่ โดยจะออกดอกตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลางลดหลั่นตามลำดับจากบนลงล่าง ช่อดอกยาวประมาณ 13-17 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาวนวล กลีบดอกบางมี 5 กลีบ ลักษณะกลีบย่นเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล และมีมือสำหรับยึดเกาะ
|
ลักษณะของต้น |
จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล และมีมือสำหรับยึดเกาะ อรพิมเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของเมืองไทย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นและดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
|
ประโยชน์ |
สรรพคุณของอรพิม
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (เปลือกต้น)[1],[2]
และยังมีข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุด้วยว่าอรพิมยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ แก้บิด และช่วยขับเสมหะด้วย
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|