QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Telosma cordata (Burm. f.) Merr.
|
ชื่อสามัญ |
Cowslip creeper
|
ชื่ออื่น |
สลิด ขจร (ภาคกลาง)/ผักสลิด (นครราชสีมา)/กะจอน/ขะจอน/สลิดป่า/ผักสลิดคาเลา/ผักขิก
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ASCLEPIADACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่มรอเลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ปักชำ
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปหัวใจ
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ดอกไม่สมบูรณ์เพศ
|
ประเภทของดอก |
ดอกไม่สมบูรณ์เพศ
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์หรือใบพลู ปลายใบเรียวแหลมยาวเป็นติ่ง (คล้ายใบต้นข้าวสาร) โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง ไม่มีจัก จะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์หรือใบพลู ปลายใบเรียวแหลมยาวเป็นติ่ง (คล้ายใบต้นข้าวสาร) โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง ไม่มีจัก จะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร
|
ลักษณะของผล |
ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาวปลายแหลม (คล้ายฝักนุ่นที่ยังเล็ก) ผิวผลเรียบ ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกตะเข็บเดียว ภายในผลหรือฝักมีเมล็ดลักษณะแบนจำนวนมาก และมีปุยสีขาวติดอยู่ที่ปลายเมล็ด เมล็ดปลิวว่อนคล้ายกับนุ่นที่มีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว โดยจะออกผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามหรือออกเป็นพวง ๆ คล้ายพวงอุบะตามซอกใบหรือโคนก้านใบ โดยในช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะแข็งเป็นสีเขียวอมสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม (หอมแรงกว่าดอกชำมะนาดหรือกลิ่นของใบเตย โดยจะหอมมากในช่วงเย็นถึงกลางคืน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ กลีบดอกย่นและบิด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก เชื่อมติดกันเองและเชื่อมติดกับยอดเกสรเพศเมีย แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชั้นกระบังรอบ ล้อมรอบก้านยอดเกสเพศเมียและเกสรเพศเมียเอาไว้ และมีชุดกลุ่มเรณูอยู่ 5 ชุด ซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายกับในดอกรัก เกสรเพศเมียจะมีรังไข่ 2 อัน แต่มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียร่วมกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม บ้างว่าจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
|
รายละเอียดของเปลือก |
กลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว
|
ลักษณะของต้น |
เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม
|
ประโยชน์ |
ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, ยอดใบอ่อน)
แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น, เปลือก)
ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดใบอ่อน)
ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[1] บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา (ราก)
ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด (ดอก)
ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก, ยอดใบอ่อน
รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา (ราก)
ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|