QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Argyreia nervosa (Burm. f.) Bojer
|
ชื่อสามัญ |
Baby Wood Rose/Baby Hawaiian Woodrose
|
ชื่ออื่น |
เมืองมอน เมืองมอบ (กรุงเทพฯ)/ผักระบาด (ภาคกลาง)/ใบละบาท /ผักระบาท (ไทย)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
CONVOLVULACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้เลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
เพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปหัวใจ
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า มีขนาดกว้างประมาณ 8-25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ตามขอบใบมีขนสีขาว ก้านใบยาวและมีขน
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า มีขนาดกว้างประมาณ 8-25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ตามขอบใบมีขนสีขาว ก้านใบยาวและมีขน
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาลอมเหลือง ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่งเมล็ด ( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 3-5 ดอก ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีชมพูอมม่วง คล้ายดอกผักบุ้ง มีใบประดับเป็นรูปไข่ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปปากแตรและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ โคนด้านนอกมีขนนุ่ม ตรงกลางดอกข้างในหลอดเป็นสีม่วงเข้ม ดอกมีเกสรอยู่ภายในหลอดดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน มีขนปุกปุยที่โคน และมีรังไข่เกลี้ยงอยู่ประมาณ 4 ช่อง ดอกร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
|
รายละเอียดของเปลือก |
กิ่งอ่อนสีขาว มีขนสีขาวเงินปกคลุมหนาแน่น
|
ลักษณะของต้น |
ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว กิ่งอ่อนสีขาว มีขนสีขาวเงินปกคลุมหนาแน่น
|
ประโยชน์ |
สรรพคุณของใบระบาด
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
รากใช้รักษาโรคอ้วนที่เกิดจากการสะสมของไขมัน (ราก)
น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหูเป็นยารักษาอาการอักเสบ (ใบ)
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
ช่วยกระตุ้นกำหนัด (ราก)
รากใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย (ราก)
ใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผล รักษาอาการอักเสบ (ใบ)
ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน 3-4 วัน จะเห็นผล (ใบ)
ใบใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)
รากใช้เป็นยารักษาโรคเท้า แก้โรคไขข้ออักเสบ (ราก)
ขนาดและวิธีใช้ : ใบใช้เฉพาะภายนอก ส่วนรากให้ใช้จำนวนพอประมาณ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
ข้อควรระวัง : ใบห้ามนำมารับประทาน ถ้าหากรับประทานใบเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง มึนงง ตาพร่า ส่วนเมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ประสาทหลอน[3]
ประโยชน์ของใบระบาด
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โดยทำเป็นร้านหรือซุ้มเพื่อให้ลำต้นเลื้อยขึ้นไปได้ แต่คนไทยโบราณจะนิยมปลูกไว้ริม
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|