ไม้ยืนต้น | Alexandrian laurel

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Calophyllum inophyllum L.

ชื่อสามัญ

Alexandrian laurel

ชื่ออื่น

สารภีทะเล(ประจวบคีรีขันธ์), กระทึง,กากะทิง(ภาคกลาง), ทิง(กระบี่), สารภีแนน(เหนือ)

วงค์ หมวดหมู่

CALOPHYLLACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ไม่ระบุ

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

- เพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีข้อดีที่ รูปทรงสวยงาม ดูแลง่าย แต่ต้องใช้เวลานานในการปลูก ประมาณ 3 ปีจึงจะออกดอก - การตอนกิ่ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงออกราก ต้นที่ได้จากการตอนมีข้อดีที่ออกดอกเร็วภายใน 3 - 6 เดือนหลังตัดกิ่งตอนปลูก

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงตรงข้าม

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อแยกแขนง

ประเภทของดอก

ช่อแยกแขนง

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว(simple leaf) เรียงตรงข้าม(opposite) รูปไข่(ovate) รูปรีแกมขอบขนาน(elliptic-oblong) รูปไข่กลับ(obovate) ขนาด 4-7 x 5-15 ซม. ฐานใบแหลม(acute) รูปลิ่ม(cuneate) ขอบใบเรียบ(entrie)และม้วนลงใต้ท้องใบเล็กน้อย ปลายใบมน(obtuse)หรือเว้าบุ๋ม(retuse) ใบเกลี้ยง(glabrous) เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง(leathery) เส้นแขนงใบมาากและเรียงชิดขนานกันเรียกว่า calophylloid vein

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว(simple leaf) เรียงตรงข้าม(opposite) รูปไข่(ovate) รูปรีแกมขอบขนาน(elliptic-oblong) รูปไข่กลับ(obovate) ขนาด 4-7 x 5-15 ซม. ฐานใบแหลม(acute) รูปลิ่ม(cuneate) ขอบใบเรียบ(entrie)และม้วนลงใต้ท้องใบเล็กน้อย ปลายใบมน(obtuse)หรือเว้าบุ๋ม(retuse) ใบเกลี้ยง(glabrous) เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง(leathery) เส้นแขนงใบมาากและเรียงชิดขนานกันเรียกว่า calophylloid vein

ลักษณะของผล

ผลมีเมล็ดเดียวแข็ง(drupe)กลมรีขนาด 2.5-3 x 3-3.5 ซม. ผลเมื่อแห้งสีน้ำตาลอ่อน ผิวย่น ผลแก่ช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน

ลักษณะของดอก

ช่อแยกแขนง(panicle) เกิดตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยกกัน สีขาว กลีบดอก 4 กลีบ แยกอิสระกัน สีขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลือง

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกชั้นนอกสีเหลืองเทาถึงน้ำตาลคล้ำ เปลือกเรียบ(smooth bark) หรือแตกแบบรอยไถ(Fissured bark) เปลือกลำต้นชั้นในสีม่วงแดงเข้ม น้ำยางสีเหลือง

ลักษณะของต้น

ลำค้นตรง เปลือกชั้นนอกสีเหลืองเทาถึงน้ำตาลคล้ำ เปลือกเรียบ(smooth bark) หรือแตกแบบรอยไถ(Fissured bark) เปลือกลำต้นชั้นในสีม่วงแดงเข้ม น้ำยางสีเหลือง

ประโยชน์

- เปลือกลำต้น ใช้ย้อมสีตาข่าย ดักปลากและทำยา - เนื้อไม้หนักและแข็ง ใช้ก่อสร้างทำเรือทั่วไป - เมล็ดนำมาสกัดน้ำมันใช้ทำสบู่ เทียนไข ปรุงยา - ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย