QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.
|
ชื่อสามัญ |
Indian oak, Freshwater mangrove
|
ชื่ออื่น |
จิ๊ก(กรุงเทพ)/กระโดนสร้อย(พิษณุโลก)/ลำไพ่(อุตรดิตถ์)/กระโดนทุ่ง,กระโดนน้ำ(หนองคาย-ภาคอีสาน)/ตอง,ปุยสาย(ภาคเหนือ)/ตอง,จิกน้ำ (ภาคกลาง)/จิก/จิกนา/จิกอินเดีย/จิกมุจลินท์
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LECYTHIDACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปใบหอก
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ดอกสมบูรณ์
|
ประเภทของดอก |
ดอกสมบูรณ์
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้ร่อง
|
ลักษณะของใบ |
ใบจิกน้ำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเวียนสลับถี่ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับ หรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมันสวย เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบ เหลือเพียงแต่ใบอ่อนสีแดง
|
ลักษณะของใบ |
ใบจิกน้ำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเวียนสลับถี่ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับ หรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมันสวย เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบ เหลือเพียงแต่ใบอ่อนสีแดง
|
ลักษณะของผล |
ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามความยาวของผล ในผลมีเมล็ดจิกน้ำ อยู่ 1 เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไข่
|
ลักษณะของดอก |
ดอกจิกน้ำ ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีสีแดงหรือสีชมพู หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นฝอย ๆ สีชมพูหรือสีแดงจำนวนมาก เมื่อดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมีดอกจะทิ้งใบเหลือแต่ยอดอ่อนสีแดงจัด ก็ยิ่งทำให้ดูสวยงดงามเพิ่มขึ้นไปอีก และจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว
|
ลักษณะของต้น |
ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง
|
ประโยชน์ |
ยอดอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับ น้ำพริก ลาบ, น้ำตก , แจ่ว และอาหารรสเผ็ดอื่นๆ กินกับขนมจีน รสชาติมันปนฝาด เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา นอกจากนี้แล้วเนื้อไม้ยังใช้ทำไม้อัด ทำเครื่องเรือนและเป็นสมุนไพรแก้ระดูขาว ใบแก่ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|