ไม้พุ่ม | Sweet oleander, Rose bay, Oleander

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nerium oleander L.

ชื่อสามัญ

Sweet oleander, Rose bay, Oleander

ชื่ออื่น

ยี่โถฝรั่ง

วงค์ หมวดหมู่

APOCYNACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้พุ่ม

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ปักชำ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปแถบ

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เรียบ

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง ใบรูปแถบหรือรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 15-17 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน เส้นกลางใบเด่นชัดทั้งสองด้าน

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง ใบรูปแถบหรือรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 15-17 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน เส้นกลางใบเด่นชัดทั้งสองด้าน

ลักษณะของผล

ผลแห้งเป็นฝัก เมื่อแก่แตกแนวเดียว เมล็ดแบน รูปรี มีขนละเอียดคลุม

ลักษณะของดอก

สีชมพู ขาว แดง เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเชิงประกอบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 20-50 ดอก มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน พันธุ์ดอกลามีหลายสี เช่น สีชมพู ขาว แดง เหลือง ส่วนพันธุ์ดอกซ้อนสีชมพูเข้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ดอกลา ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 8-12 เซนติเมตร

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกสีน้ำตาลเข้ม

ลักษณะของต้น

ยี่โถ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อยมาก ทำให้มีทรงพุ่มโปร่ง กิ่งมีลักษณะยาว ตั้งตรงขึ้น ลำต้น และกิ่งมีขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และอาจใหญ่กว่านี้ แต่พบน้อยมาก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล สามารถลอกออกเป็นเส้นได้ ส่วนเนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะหักง่าย หากใช้มีดกรีดจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

ประโยชน์

1. ยี่โถนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับดอกเป็นสำคัญ เนื่องจาก ต้นมีกิ่งน้อย แต่แตกดอกเป็นช่อจำนวนมาก แต่ละช่อมีดอกขนาดใหญ่ ดอกมีสีสดสวยงามหลายสี ทำให้เวลาออกดอกจะแลดูเด่น และสวยงามมาก นอกจากนั้น ยามดอกบานจะส่งกลิ่นหอมอ่อนรอบลำต้น 2. ดอกใช้ต้มย้อมผ้า ให้เนื้อผ้าสีแดงหรือชมพู รวมถึงนำน้ำคั้นผสมทำกระดาษสาที่ให้สีกระดาษมีสีฉูดฉาดมากขึ้น อีกทั้ง ผ้าหรือกระดาษที่ถูกย้อมจะคงทนได้นาน ไม่มีหนูหรือแมลงมากัดแทะได้

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย