ไม้เลื้อย | Nuckernut, Grey nickers

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Caesalpinia bonduc (L.) Roxb

ชื่อสามัญ

Nuckernut, Grey nickers

ชื่ออื่น

หวาด บ่าขี้แฮด (เชียงใหม่), หวาด ตามั้ด มะกาเลิง (ภาคใต้), สวาด (ภาคกลาง), มะกาเล็ง (เงี้ยว-เชียงใหม่), ดามั้ด (มลายู-สตูล)

วงค์ หมวดหมู่

FABACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้เลื้อย

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลรวม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เป็นหนาม

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเล็กน้อย โคนใบไม่เท่ากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม มีหูใบประกอบแบบขนนก[1],[2],[3]

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเล็กน้อย โคนใบไม่เท่ากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม มีหูใบประกอบแบบขนนก[1],[2],[3]

ลักษณะของผล

ออกผลเป็นฝัก ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี มีหนามยาวแหลม หรือขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก ภายในฝักมีเมล็ด 2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรีเท่าปลายนิ้วชี้ เปลือกเมล็ดแข็งเป็นสีม่วงเทา (สีสวาด) เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นช่อ เป็นช่อยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร โดยจะออกที่กิ่งเหนือซอกใบเล็กน้อย เป็นช่อเดี่ยวหรือบางครั้งอาจจะแตกแขนงได้ ก้านช่อยาวและมีหนาม ดอกย่อยมีขนาดเล็ก คล้ายดอกกล้วยไม้สีเหลือง โดยมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง มีใบประดับเป็นเส้นงอ ยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร

รายละเอียดของเปลือก

สีน้ำตาล มีหนามตามเปลือก

ลักษณะของต้น

จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพันกับต้นไม้อื่นโดยใช้หนามช่วยในการประคอง ตามลำต้น กิ่งก้าน และเส้นใบมีหนามโค้งแหลม สามารถพบได้ทั่วไปในเขตร้อน มักขึ้นตามริมแม่น้ำลาธารในป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะใกล้ทะเล และป่าโปร่งทั่วไป แต่ในปัจจุบันจะพบได้น้อยมาก

ประโยชน์

เป็นยาขับลม แก้จุกเสียด ผลใช้แก้กระษัย เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย