ไม้ยืนต้น | Santol

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.

ชื่อสามัญ

Santol

ชื่ออื่น

มะต้อง มะตื๋น (ภาคเหนือ)/ กระท้อน (ภาคกลาง)

วงค์ หมวดหมู่

MELIACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้เป็นเกล็ดเล็ก

ลักษณะของใบ

ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี สีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง ความกว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม หลังใบเป็นคลื่น มีนวลปกคลุม ท้องใบมีเส้นใบนูนเห็นได้ชัด ขอบใบเรียบเป็นคลื่น

ลักษณะของใบ

ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี สีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง ความกว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม หลังใบเป็นคลื่น มีนวลปกคลุม ท้องใบมีเส้นใบนูนเห็นได้ชัด ขอบใบเรียบเป็นคลื่น

ลักษณะของผล

ผล ผลสดรูปกลม อาจมีจุกผลที่ขั้วหรือไม่มีก็ได้ เมื่อสุกมีสีเหลือง ผิวมีขนแบบกำมะหยี่ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ด มี 2-5 เมล็ด รูปกลมรี มีเยื้อหุ้มที่เกิดจากเปลือกหุ้มเมล็ด

ลักษณะของดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอม ยาว 10-15 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนหนาด้านนอก กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว กลีบบานแยกแผ่ออก จำนวน 5 กลีบ ยาว 1 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อันเชื่อมติดกัน เป็นหลอด

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกลำต้น ขรุขระ ชั้นนอกเป็นสีน้ำตาลออกชมพู เปลือกในสีชมพู

ลักษณะของต้น

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 10-25 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นมักเป็นพูพอน เปลือกลำต้น ชั้นนอกเป็นสีน้ำตาลออกชมพู เปลือกในสีชมพู

ประโยชน์

เปลือกต้น มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด นำมาต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง หรือดื่มแก้พิษงู แก้ท้องเสีย เปลือกผล มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด เป็นยาสมาน ใบ มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด ใช้ต้มอาบแก้ไข้ ใช้ขับเหงื่อ ราก มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด ผล แก้บวมและขับพยาธิ เนื้อไม้ แข็งและมีคุณภาพดี จึงใช้สร้างบ้านหรือทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย