QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus foveolata Wall
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี
|
วงค์ หมวดหมู่ |
MORACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่มรอเลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตัดเถาม้ากระทืบโรงประมาณ 1 คืบแล้วนำมาปักชำ
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปใบหอก
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้ร่อง
|
ลักษณะของใบ |
มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบและผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร
|
ลักษณะของใบ |
มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบและผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร
|
ลักษณะของผล |
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลสีเขียว ภายในผลเนื้อมีสีแดง
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ที่ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกมีสีน้ำตาลและสาก มีปุ่มขึ้นคล้าย หนาม เนื้อไม้สีขาวและมีน้ำยางสีขาว
|
ลักษณะของต้น |
จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มักเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้ชนิดอื่น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร
|
ประโยชน์ |
ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ประดงเลือด ที่ทำให้เป็นจุดห้อเลือด เป็นเม็ดตุ่มตามผิวกาย แก้ประดงลม แก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารมีรส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นคุย ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ และยังช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|