ไม้เลื้อย | long pepper

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper retrofractum Vahl

ชื่อสามัญ

long pepper

ชื่ออื่น

ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ ฟันพญาไฟ บี้ฮวด พิษพญาไฟ

วงค์ หมวดหมู่

PIPERACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้เลื้อย

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

เพาะเมล็ดหรือชำเถา

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียวสลับตามข้อใบ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ผิวด้านหลังใบเป็นมัน หลังใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย โคนเบี้ยว ปลายแหลม ขอบเรียบ มีเส้นใบออกจากโคน 3-5 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ใบยอดกิ่งไม่มีก้าน ใบและเถามีรสเผ็ดร้อน

ลักษณะของใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียวสลับตามข้อใบ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ผิวด้านหลังใบเป็นมัน หลังใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย โคนเบี้ยว ปลายแหลม ขอบเรียบ มีเส้นใบออกจากโคน 3-5 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ใบยอดกิ่งไม่มีก้าน ใบและเถามีรสเผ็ดร้อน

ลักษณะของผล

ผลสดอัดกันแน่นบนแกนช่อ ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร โคนกว้าง ปลายมน ผิวผลเรียบ ผลย่อยขนาดเล็กจะติดกันเป็นแท่งหลอมรวมกัน แยกจากกันไม่ได้ ผลมีรสเผ็ดร้อน มีสีเขียวเมื่อสุกสีน้ำตาลแกมแดง ผลย่อยมีเมล็ดเดียว เมล็ดมีขนาดเล็กมาก กลมและแข็ง

ลักษณะของดอก

ดอกเป็นช่อตั้งตรงข้ามกับใบ ออกเป็นช่อจากง่ามใบ หรือปลายยอด มีดอกย่อยเรียงกันอัดแน่นบนแกนช่อลักษณะเป็นแท่งกลมยาวทรงกระบอก ปลายเรียวมน ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว สีเขียว เมื่อแก่มีสีเหลืองอมแดง มีขนปกคลุมเล็กน้อย ไม่มีก้านดอกย่อย ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ก้านช่อดอกยาวเท่ากับก้านใบ ช่อดอกเพศผู้ยาว 4-5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ก้านดอกยาว 2-3.5 ซม. มีเกสรเพศผู้ 2-3 อัน ช่อดอกเพศเมีย ยาว 3-4 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม.

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

ไม้เถาเนื้อแข็ง ขึ้นเลื้อยพัน ลำต้นค่อนข้างกลมเรียบ เปราะ หักง่าย บริเวณข้อมีรากสำหรับยึดเกาะ แตกกิ่งก้านมาก

ประโยชน์

ใช้ผล ขับลม ลดอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด บำรุงธาตุไฟ แก้ปวดท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ตับพิการ แก้ท้องร่วง แก้ไอ บีบมดลูก บำรุงธาตุ ใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ขับเสมหะ แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ แก้ลมวิงเวียน เป็นยาระงับแก้อาการนอนไม่หลับ โรคลมบ้าหมู เป็นยาขับน้ำดี เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี ยาขับระดูและทำให้แท้งลูก เป็นยาขับพยาธิในท้อง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้ปรุงเป็นยาทาภายนอกสำหรับบรรเทาอาการปวดที่กล้ามเนื้อ ทำให้ร้อนแดงและมีเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณนั้นมากขึ้น แก้อักเสบ ฝนเอาน้ำทาแก้ฟก บวม ใส่ฟัน แก้ปวดฟัน

สถานที่พบ

ส่วนป่าสาธารณ อ. ห้วยยอด จ.ตรัง