QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Caryota mitis Lour.
|
ชื่อสามัญ |
Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm
|
ชื่ออื่น |
เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ยังไม่จัดหมวด
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ประดับอื่นๆ
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
เพาะเมล็ด หรือ แยกหน่อ
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงเวียนสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปคล้ายสามเหลี่ยม
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ช่อใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แผ่แบน แตกแขนงออกเป็นช่อใบย่อยข้างละ 7-23 ช่อ ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะพับเป็นจีบคล้ายรูปตัววี แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา โคนใบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยคู่สุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มักติดกันและมีขนาดใหญ่ ปลายใบหยักไม่สม่ำเสมอ โคนใบเป็นรูปลิ่มเยื้อง ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกาบใบโอบรอบลำต้นยาวประมาณ 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ช่อใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แผ่แบน แตกแขนงออกเป็นช่อใบย่อยข้างละ 7-23 ช่อ ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะพับเป็นจีบคล้ายรูปตัววี แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา โคนใบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยคู่สุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มักติดกันและมีขนาดใหญ่ ปลายใบหยักไม่สม่ำเสมอ โคนใบเป็นรูปลิ่มเยื้อง ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกาบใบโอบรอบลำต้นยาวประมาณ 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นพวง ๆ ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร เนื้อผลชุ่มไปด้วยน้ำเลี้ยง ซึ่งเป็นพิษและทำให้ระคายเคือง ผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้มถึงสีม่วงคล้ำหรือดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
|
ลักษณะของดอก |
ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้นกัน โดยจะออกดอกเป็นช่อเชิงลดไม่มีก้าน ช่อดอกยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ก้านช่อดอกอวบ ห่อหุ้มไปด้วยกาบสีเขียวขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ต่อมาจะออกตามซอกใบ แล้วไล่ลงมาถึงโคนต้น ช่อดอกมีลักษณะย่อยห้อยลงมา ออกดอกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก เรียงเวียนสลับกับแกนช่อดอกย่อย โดยดอกเพศผู้จะเป็นสีเขียวอ่อนไม่มีก้าน ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปทรงขอบขนาน เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองนวล กลีบดอกแข็งมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้ง ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ ที่โคนกลีบเชื่อมติดกัน ดอกที่บานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร
|
รายละเอียดของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของต้น |
สำหรับต้นเต่าร้างนั้นเป็นพืชในตระกูลปาล์มต้นเดี่ยว มีหน่อ และแตกกอขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 10 ? 15 เมตร ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกแบบเรียงสลับกัน โดยบริเวณปลายใบนั้นจะแหลม ส่วนโคนเป็นรูปลิ่ม มีสีเขียว และดอกของต้นเต่าร้างนั้นจะมีสีขาวแกมเหลืองโดยออกดอกเป็นช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างอยู่ที่ 2 เซนติเมตร สำหรับผลของเต่าร้างจะเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกผลเป็นพวง รูปทรงกลม ส่วนผลที่สุกแล้วจะมีสีแดงคล้ำ สามารถรับประทานได้ แต่ต้องระวังอย่าให้โดนยางของต้นเต่าร้างเข้า
|
ประโยชน์ |
ราก หัว ช่วยแก้อาการช้ำใน แก้ตับทรุด แก้ม้ามพิการ รวมทั้งแก้โรคหัวใจพิการ แก้กาฬขึ้นปอด และช่วยดับพิษดับปอด ให้รสหวานเย็นขมนอกจากนี้ยังนำประโยชน์จากไม้ของต้นเต่าร้างนั้นมาทำการก่อสร้างหรือเครื่องมือการเกษตรต่างๆ รวมทั้งนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และนำมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน แต่ทั้งนี้ควรระวังยางของต้นเต่าร้างให้ดี เพราะหากโดนเข้าจะคัน เกิดผื่นแดง โดยเฉพาะหากโดนตาจะทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว อันตรายจริง
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|