QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ocimum tenuiflorum L.
|
ชื่อสามัญ |
Holy basil, Thai basil, Sacred basil.
|
ชื่ออื่น |
เชียงใหม่ ก้อมก้อ ก้อมก้อดง กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน ห่อกวอซู ห่อตูปลู เงี้ยว แม่ฮ่องสอน อิ่มคิมหลำ ภาคกลาง กะเพรา กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง ภาคอีสาน อีตู่ไทย
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LABIATAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่ม
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ใช้เมล็ดหรือลำต้น ในการขยายพันธุ์ได้
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงข้ามในแต่ละข้อของลำต้นและกิ่ง ลักษณะใบรูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบบางสีเขียวหรือสีแดง และมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบสีเขียวหรือสีแดงแล้วแต่พันธุ์
|
ลักษณะของใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงข้ามในแต่ละข้อของลำต้นและกิ่ง ลักษณะใบรูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบบางสีเขียวหรือสีแดง และมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบสีเขียวหรือสีแดงแล้วแต่พันธุ์
|
ลักษณะของผล |
ผล เป็นแบบผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว มีขนาดเล็ก ปลายมน เกลี้ยง
เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปไข่ สีน้ำตาลมีจุดสีเข้ม หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของเมล็ด
|
ลักษณะของดอก |
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อที่ยอดหรือปลายกิ่ง ริ้วประดับรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบมีขน ดอกย่อยแบบสมมาตรด้านข้าง ก้านดอกโค้งยาวมีขน มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็นปาก กลีบดอกสีขาวอมม่วงหรือสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแยกเป็นปาก ปากบนมีแฉกมนๆ 4 แฉก ปากล่างโค้งลง แบน ขอบเรียบ ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
|
รายละเอียดของเปลือก |
สีน้ำตาล
|
ลักษณะของต้น |
ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.3 1.0 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โคนต้นแข็ง มีขนคลุมทั่ว แตกกิ่งก้านสาขามาก และมีกลิ่นหอมแรง กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราะแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่า กะเพราขาว มีใบและลำต้นสีเขียว และกะเพราะแดง มีใบและลำต้นสีแดงอมเขียว
|
ประโยชน์ |
ต้นกะเพราเป็นผักสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหารไทย เนื่องจากมีกลิ่นเฉพาะตัวและรสชาติที่อร่อยถูกปากคนไทยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะใบกะเพราที่นำมาผัดกับเนื้อสัตว์ต่างๆ ซึ่งใบกะเพรานี้เองที่มีสรรพคุณทางตำรับยาไทย มีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืดหรือท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บรรเทาอาการจุกเสียดในท้องแก้ลมตานซาง แก้อาการคลื่นเหียนวิงเวียนอาเจียน
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|