ไม้ยืนต้น | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Suregada multiflora

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

ขันทอง (พิษณุโลก) ดูกหิน (สระบุรี) ขนุนดง (หล่มสัก) กระดูก (ภาคใต้) ขุนทอง (ประจวบคีรีขันธ์) ดูกใส (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะดูกเหลื่อม (ภาคเหนือ) มะดูกดง (ปราจีนบุรี) ข้าวตาก (กาญจนบุรี)

วงค์ หมวดหมู่

EUPHORBIACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงตรงข้าม

รูปร่างของใบ

รูปใบหอก

แบ่งชนิดของผล

ผลรวม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้ร่อง

ลักษณะของใบ

ใบหนาแข็งและดกทึบ โดยใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีความกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบและมีสีอ่อนกว่า ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลืองและมีขนเป็นรูปดาว มีเส้นใบข้าง 5-9 คู่ มีก้านใบยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ส่วนหูใบมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ละคู่เชื่อมกัน หลุดร่วงได้ง่าย และจะทิ้งแผลเป็นวงไว้

ลักษณะของใบ

ใบหนาแข็งและดกทึบ โดยใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีความกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบและมีสีอ่อนกว่า ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลืองและมีขนเป็นรูปดาว มีเส้นใบข้าง 5-9 คู่ มีก้านใบยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ส่วนหูใบมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ละคู่เชื่อมกัน หลุดร่วงได้ง่าย และจะทิ้งแผลเป็นวงไว้

ลักษณะของผล

ผลมีลักษณะเกือบกลม ผิวผลเกลี้ยง มีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเหลืองอมส้ม แตกตามพู มีพู 3 พูและมีติ่งเล็ก ๆ อยู่ที่ยอด ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดประมาณ 7-8 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีเนื้อบาง ๆ สีขาวหุ้มเมล็ดอยู่ โดยจะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

ลักษณะของดอก

ดอกมีกลิ่นหอมสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ขนาดประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก อยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกมีใบประดับลักษณะเป็นรูปหอกปลายแหลมยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.7-0.8 มิลลิเมตร ส่วนดอกจะเป็นแบบแยกเพศแยกต้นและไม่มีกลีบดอก โดยดอกเพศผู้จะมีขนาดประมาณ 2.5 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้ประมาณ 35-60 ก้าน แต่ละอันจะมีต่อมอยู่ที่ฐาน ฐานรองดอกนูนพองออก และอาจพบเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันปะปนอยู่ด้วย ส่วนดอกเพศเมียจะมีลักษณะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่จะมีรังไข่เหนือวงกลีบ มีขนอยู่หนาแน่น มีรังไข่ 3 ช่อง รังไข่มีขนละเอียดและมีหมอนรองดอก มีก้านเกสรเพศเมีย 3 ก้าน ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบรองดอกหนามี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อยและขอบจักเป็นซี่ฟัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแก่และแตกเป็นร่องแบบตื้น ๆ ตามยาว เนื้อไม้เป็นสีขาว

ลักษณะของต้น

จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 7-13 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งก้านค่อนข้างกลม กิ่งก้านอ่อนและห้อยลู่ลง ที่กิ่งจะมีขนรูปดาว

ประโยชน์

เนื้อไม้ มีพิษทำให้เมา ใช้เป็นยาเบื่อ เปลือกต้นพอก หรือตำคั้นน้ำทาใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากและเกลื้อน ผดผื่นคัน ราก ต้มดื่มแก้ไข้

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย