QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Plumbago indica L.
|
ชื่อสามัญ |
Rose-colored leadwort
|
ชื่ออื่น |
ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ปิดปีแดง(เลย) ไฟใต้ดิน(ใต้) คุ้ยวู่ (กาญจนบุรี)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
PLUMBAGINACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ล้มลุก
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปไข่
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อกระจะ
|
ประเภทของดอก |
ช่อกระจะ
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว แผ่นใบมักบิด ส่วนก้านใบและแกนกลางใบอ่อนเป็นสีแดง
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว แผ่นใบมักบิด ส่วนก้านใบและแกนกลางใบอ่อนเป็นสีแดง
|
ลักษณะของผล |
ออกผลเป็นฝักกลม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกตามร่องได้
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ช่อดอกยาวประมาณ 20-90 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ 10-15 ดอก โดยดอกจะออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกบางเป็นสีแดงสด มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลีบกลมและมีติ่งหนามตอนปลาย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีใบประดับและใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านติดตรงข้ามกลีบดอก มีอับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่เป็นรูปรี ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดและมีขนยาวที่โคน ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอก เป็นหลอดเล็กยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และมีขนเหนียว ๆ ปกคลุม เมื่อจับดูจะรู้สึกว่าเหนียวมือ
|
รายละเอียดของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของต้น |
จัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขารอบต้นมาก กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนเป็นสีแดง ส่วนลำต้นมีลักษณะกลมเรียบ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวปนแดงและมีสีแดงบริเวณข้อ
|
ประโยชน์ |
เป็นยาบำรุงธาตุและบำรุงโลหิตขับลมในกระเพาะอาหารและสำไส้ทำให้ผายลมและเรอแก้ท้องอืดท้อง
เฟ้อปวดเสียดแน่นหน้าอกทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นแก้ริดสีดวงทวารแก้ท้องเสียแก้โรคผิวหนัง
กลากเกลื้อนฆ่าพยาธิช่วยขับปัสสาวะช่วยย่อยอาหารขับลมช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี
ยาขับประจำเดือนของสตรีแก้ฝีบวม ฝีบวมอักเสบแก้อาการฟกช้ำ แก้เคล็ดขัดยอก
ช่วยระงับอาการปวดฟันดอกใช้เป็นยาแก้โรคทำให้หนาวและเย็นช่วยแก้อาการไอ
ช่วยขับเสมหะช่วยแก้คุดทะราดช่วยรักษาโรอัมพาตแก้โรคเหงื่อออกมาก
แก้โรคประสาทแก้โลหิตเน่าเสีย
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|