ไม้พุ่ม | Cananga, Ylang-Ylang

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson

ชื่อสามัญ

Cananga, Ylang-Ylang

ชื่ออื่น

กระดังงาใบใหญ่ (กลาง) สะบันงา สะบันงาต้น (เหนือ)

วงค์ หมวดหมู่

ANNONACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้พุ่ม

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

การตอนกิ่ง สามารถทำได้แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากิ่งเปราะ หักง่าย การเพาะเมล็ดทำได้ง่ายกว่า การขยายพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ควรใช้ฮอร์โมนช่วยเนื่องจากการออกรากไม่ง่ายนัก ฤดูกาลที่เหมาะสมกับการขยายพันธุ์คือช่วงฤดูฝน ประมาณต้นเดือนมิถุนายน การเพาะเมล็ด เป็นที่นิยมกันมาก เพราะสะดวกในการปฏิบัติงานและสามารถทำได้ครั้งละมากๆ แต่ก็มีข้อเสียอยู่นิดหนึ่งก็คือ พันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ไม่ค่อยติดผลเท่าไรนัก

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้ร่อง

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน เบี้ยวเล็กน้อย ยาวได้ประมาณ 14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบยาว 1-2.5 ซม.

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน เบี้ยวเล็กน้อย ยาวได้ประมาณ 14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบยาว 1-2.5 ซม.

ลักษณะของผล

ผลกลุ่ม ผลย่อยมี 8-10 ผล รูปรี ยาวประมาณ 1.5 ซม.

ลักษณะของดอก

ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ตามซอกใบหรือตรงข้ามใบ ก้านดอกยาว 3-6 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อน รูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ยาว 0.7-1.2 ซม. มีขนละเอียดด้านนอก กลีบดอก 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น หรือมีหลายกลีบ เรียงหลายชั้น กลีบรูปแถบ ยาว 5-9 ซม. สีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีเหลือง

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีเงิน พบรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขนปกคลุม ใบดกหนาทึบ

ลักษณะของต้น

ไม้พุ่ม สูงได้ประมาณ 3 ม. แตกกิ่งจำนวนมาก

ประโยชน์

เนื้อไม้และใบ ทำบุหงา อบร่ำ ทำน้ำหอม เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ต้น กิ่ง ก้าน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ดอก บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ไข้ แก้อ่อนเพลีย วิงเวียน จุกเสียด ราก คุมกำเนิด

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย