QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Stephania pierrei Diels
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
บัวเครือ (เพชรบูรณ์), บัวกือ (เชียงใหม่, เพชรบุรี), บัวบก (กาญจนบุรี, นครราชสีมา), เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ), โกฐหัวบัว (ภาคกลาง), พุ่งเหมาด้อย (เมี่ยน)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
MENISPERMACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้เลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ใช้เมล็ดและส่วนของรากที่คล้ายหัว
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปวงกลม
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม หรือเป็นรูปกลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 เซนติเมตร บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ เส้นใบเป็นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน มีก้านใบติดอยู่ที่กลางแผ่น ก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
|
ลักษณะของใบ |
มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม หรือเป็นรูปกลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 เซนติเมตร บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ เส้นใบเป็นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน มีก้านใบติดอยู่ที่กลางแผ่น ก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นแบบมีเมล็ดเดียวแข็ง มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือค่อนข้างเป็นรูปไข่กลับ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ผนังของผลชั้นในจะมีรูเล็ก ๆ ตรงกลาง ด้านบนมีตุ่มเรียงกันเป็น 4 แถว โค้ง และมีทั้งหมดประมาณ 16-19 ตุ่ม
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบหรือง่ามใบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเรียวเล็ก ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ เป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ มีสีเหลือง เนื้อกลีบนุ่ม มักมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน ไม่มีก้านหรือติดบนก้าน ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
|
รายละเอียดของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของต้น |
จัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม มีหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในหัวมีสีขาวนวล มีรสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย โดยลำต้นจะแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร
|
ประโยชน์ |
ต้น กระจายลมที่แน่นในอก
ใบ บำรุงธาตุไฟ ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง
ดอก ฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ทำให้อุจจาระละเอียด
เถา ขับโลหิตระดู ขับพยาธิในลำไส้
หัว, ก้าน แก้เสมหะเบื้องบน ทำให้เกิดกำลัง บำรุงกำหนัด
ราก บำรุงเส้นประสาท
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|