QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Salacia chinensis L.
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก
|
วงค์ หมวดหมู่ |
CELASTRACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่มรอเลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การเพาะเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก แผ่นใบค่อนข้างหนา แผ่นใบรูปวงรี รูปวงรีกว้าง รูปไข่ รูปวงรีแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบหยักหยาบๆ หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ เนื้อใบกรอบ ก้านใบยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนและด้านล่างค่อนข้างหนาเป็นมัน เส้นแขนงใบ 4-10 คู่
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก แผ่นใบค่อนข้างหนา แผ่นใบรูปวงรี รูปวงรีกว้าง รูปไข่ รูปวงรีแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบหยักหยาบๆ หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ เนื้อใบกรอบ ก้านใบยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนและด้านล่างค่อนข้างหนาเป็นมัน เส้นแขนงใบ 4-10 คู่
|
ลักษณะของผล |
ผลสด รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวผลเกลี้ยง รูปกระสวยกว้าง หรือรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดกลมขนาดใกล้เคียงกับผล 1 เมล็ด
|
ลักษณะของดอก |
ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง ออกเป็นช่อ แบบกระจุกหรือช่อแยกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบ มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองปนเขียว ออกเป็นกลุ่มหรือช่อสั้นๆ ที่ซอกใบ หรือกิ่งก้าน ปลายกลีบดอกมนบิดเล็กน้อย แกนดอกนูนเป็นวงกลม มี 3-6 ดอกในแต่ละช่อ กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่กว้าง ยาว 3-4 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 6-10 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเล็กมากมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ปลายมนกลม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ขอบเป็นชายครุย จานฐานดอกรูปถ้วยคล้ายเป็นถุง มีปุ่มเล็กๆ ตามขอบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดบนขอบจานฐานดอก ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูรูปส้อม ปลายเกสรชนกันเป็นยอดแหลม รังไข่มี 3 ช่อง ซ่อนอยู่ในจานฐานดอก ออวุลมี 2 เม็ด ในแต่ละช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น
|
รายละเอียดของเปลือก |
ปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน เรียงซ้อนกันเป็นชั้น 7-9 ชั้น
|
ลักษณะของต้น |
ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-6 เมตร
|
ประโยชน์ |
ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับเลือดระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก)
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|