QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tarenna hoaensis Pit.
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
จันทน์ขาว, จันทน์ตะเบี้ย, จันทน์ตะเนี้ย (ภาคตะวันออก, เขมร), จันทน์หอม (ระยอง), จันทนา จันทน์ใบเล็ก (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ทนา
|
วงค์ หมวดหมู่ |
RUBIACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่ม
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 24 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 24 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม
|
ลักษณะของผล |
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี สีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ พอแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนประมาณ 1-2 เมล็ด
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกประมาณ 8-12 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายจะแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายกลีบม้วนลง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองติดอยู่ข้างในผนังหลอด
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม
|
ลักษณะของต้น |
ไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง
|
ประโยชน์ |
แก่นของจันทนาสามารถนำมาใช้ในการทำมาทำเป็นธูปหอมได้
เนื้อไม้หรือแก่นใช้บดหรือฝนผสมกับน้ำ นำไปปรุงแต่งเป็นเครื่องหอมได้
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|