QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Syzygium cumini (L.) Skeels
|
ชื่อสามัญ |
Black plum, Jambolan
|
ชื่ออื่น |
ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
MYRTACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ช่อแยกแขนง
|
ประเภทของดอก |
ช่อแยกแขนง
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เป็นเกล็ดเล็ก
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4 ? 7 เซนติเมตร ยาว 9 ? 14 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเรียว แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ผิวเกลี้ยงเส้นกลางใบนูนเห็นชัด เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน มีจุดน้ำมันบริเวณขอบใบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4 ? 7 เซนติเมตร ยาว 9 ? 14 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเรียว แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ผิวเกลี้ยงเส้นกลางใบนูนเห็นชัด เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน มีจุดน้ำมันบริเวณขอบใบ
|
ลักษณะของผล |
ผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่ กว้าง 1 ? 1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5 ? 2 เซนติเมตร เนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีม่วงแดงถึงดำ
|
ลักษณะของดอก |
ช่อแยกแขนง ออกตามกิ่ง ดอกสีขาว หรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปถ้วย ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก โดยจะมีเยื่อหุ้มบางๆ หุ้มดอกยังตูมไว้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่ เยื่อบางๆ นี้จะหลุดไป เกสรเพศผู้จำนวนมากติดอยู่รอบขอบของฐานรองดอก เกสรเพศเมีย 1 อันฝังอยู่ตรงกลาง
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล ขรุขระ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย เปลือกในสีน้ำตาลแดง
|
ลักษณะของต้น |
ไม้ต้น เนื้อแข็ง ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง
|
ประโยชน์ |
เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
เปลือก ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง อมแก้ปากเปื่อย
ใบ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด
ผล ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกใช้ทำเครื่องดื่ม หรือรับประทานสด
เมล็ด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|