QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Thumbergia laurifolia Lindl.
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ACANTHACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้เลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปไข่
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปไข่ปลายเรียวแหลม ปลายใบแหลม หรือแหลมยาว โคนใบกลม ตัด รูปหัวใจหรือคล้ายลูกศร ขอบใบเรียบ จักซี่ฟันตื้นๆ ห่างๆ แผ่นใบเกลี้ยง เส้นโคนใบส่วนมากมี 5 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดเจน ใบยาว 4-18 เซนติเมตร หลังใบผิวเรียบมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า เนื้อใบบาง ก้านใบยาวได้ประมาณ 6 เซนติเมตร ใบช่วงปลายกิ่งก้านใบสั้นมาก
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปไข่ปลายเรียวแหลม ปลายใบแหลม หรือแหลมยาว โคนใบกลม ตัด รูปหัวใจหรือคล้ายลูกศร ขอบใบเรียบ จักซี่ฟันตื้นๆ ห่างๆ แผ่นใบเกลี้ยง เส้นโคนใบส่วนมากมี 5 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดเจน ใบยาว 4-18 เซนติเมตร หลังใบผิวเรียบมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า เนื้อใบบาง ก้านใบยาวได้ประมาณ 6 เซนติเมตร ใบช่วงปลายกิ่งก้านใบสั้นมาก
|
ลักษณะของผล |
ผลแบบแคปซูล รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายผลมีจะงอยแหลมคล้ายหัวนก ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลเกือบดำแล้วแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก เมล็ด 2 เมล็ดในแต่ละซีก เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ตามชายป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
|
ลักษณะของดอก |
ช่อดอกแบบช่อกระจะออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาวได้ประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกรูปปากแตร สีม่วง ในช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3-4 ดอก สีม่วงอมฟ้า กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดใหญ่สั้นๆ กลีบกลมหรือรูปไข่กว้าง ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ภายในหลอดกลีบมีสีครีมหรือเหลือง หลอดกลีบดอกยาว 3-5 เซนติเมตร บานออกช่วงปลายใบประดับสีเขียวประแดง กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย กลีบเลี้ยงรูปถ้วยขนาดเล็ก ขอบเกือบเรียบ มีต่อมน้ำต้อยตามขอบ เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบ แยกเป็น 2 คู่ ไม่ยื่นเลยปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อับเรณูยาวเท่าๆ ก้านเกสรเพศผู้ จานฐานดอกรูปเบาะสูงประมาณ 3 มิลลิเมตร รังไข่ รูปกรวย เกลี้ยง ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรแผ่ออกคล้ายรูปแตร ก้านดอกยาว 1-3 เซนติเมตร ใบประดับย่อยหุ้มกลีบเลี้ยง รูปขอบขนาน ยาวได้ประมาณ 3 เซนติเมตร
|
รายละเอียดของเปลือก |
เถาอ่อนสีเขียว กลม เป็นข้อปล้อง เถาแก่สีน้ำตาล
|
ลักษณะของต้น |
ไม้เถาล้มลุกเนื้อแข็งขนาดกลาง ลำต้นมีเนื้อไม้ เถาอ่อนสีเขียว กลม เป็นข้อปล้อง เถาแก่สีน้ำตาล
|
ประโยชน์ |
ใบ ราก และเถา รสจืดเย็น ตำคั้นหรือเอารากฝนกับน้ำหรือต้มเอาน้ำยาดื่มถอนพิษ แก้ไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ปวดหู ตำพอก แก้ปวดบวม เถาและใบ รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนต่างๆ ราก รสจืดเย็น แก้อักเสบ แก้ปวดบวม แก้เมาค้าง แก้อาการปวดหัวมึนหัวอันเนื่องมาจากพิษสุรา ถอนพิษสุรา พิษตกค้างในร่างกาย ใช้รากเข้ายารักษาโรคอักเสบและปอดบวม รากและเถา
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|