QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ocimmum gratissimum
|
ชื่อสามัญ |
Shrubby Basil
|
ชื่ออื่น |
ยี่หร่า กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LAMIACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่ม
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ง่าย จะตัดกิ่งยอดชำ หรือที่นิยมทั่วไปคือเพาะเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้าม
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
|
ลักษณะของใบ |
เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
|
ลักษณะของผล |
ผลยี่หร่า หรือ เมล็ดยี่หร่า มีลักษณะเป็นรูปกลมรี แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่พอสุกหรือแก่แล้วจะกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งผลจะนิยมนำมาตากแห้งหรือนำไปอบแห้ง เพื่อใช้ทำเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวได้ดีเหมือนกับใบ
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ช่อดอกนั้นจัดเป็นแบบ Spike-like raceme ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอก
|
รายละเอียดของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของต้น |
เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล
|
ประโยชน์ |
กะเพราควายมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รากและต้น ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดี ผลหรือเมล็ดมีสารสำคัญในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ส่วนใบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญและเป็นผลผลิตส่วนใหญ่ มีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ขับไล่ของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการปวดประจำเดือนของสตรีได้ดี
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|