QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
น้ำน้อย (เลย), ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์), กำจาย (นครสวรรค์), กระทุ่มกลอง กระทุ่มคลอง กลึงกล่อม ชั่งกลอง ท้องคลอง (ราชบุรี), ช่องกลอง (กาญจนบุรี), มงจาม (อ่างทอง), น้ำนอง (ปัตตานี, ภาคใต้), จิงกล่อม (ภาคใต้)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ANNONACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่ม
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะกล้าจากเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ดอกเดียว
|
ประเภทของดอก |
ดอกเดียว
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้ร่อง
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ โคนใบสอบและเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบแต่มักย่นเป็นคลื่นหรือม้วนงอขึ้นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.7-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน หรืออาจมีขนสั้น ๆ เหลืออยู่ตามเส้นกลางใบ ท้องใบจะมีสีเขียวนวล เส้นแขนงใบมีข้างละ 7-8 เส้น ก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ใบแห้งด้านบนจะเป็นสีเทา ส่วนด้านล่างจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ โคนใบสอบและเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบแต่มักย่นเป็นคลื่นหรือม้วนงอขึ้นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.7-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน หรืออาจมีขนสั้น ๆ เหลืออยู่ตามเส้นกลางใบ ท้องใบจะมีสีเขียวนวล เส้นแขนงใบมีข้างละ 7-8 เส้น ก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ใบแห้งด้านบนจะเป็นสีเทา ส่วนด้านล่างจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน
|
ลักษณะของผล |
ออกผลเป็นกลุ่ม มีจำนวนมาก ประมาณ 25-35 ผลย่อยต่อกลุ่ม มีหลายผลอยู่บนแกนตุ้มกลาง ก้านช่อผลยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผลย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงรีหรือกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ผลเป็นผลสดและมีเนื้อ ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ ก้านผลยาวประมาณ 0.7-1.2 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดเดียวต่อ 1 ผลย่อย หรือบางผลอาจมีเมล็ด 2 เมล็ด เมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปรี มีสีน้ำตาล มีดอกและผลเกือบตลอดทั้งปี
|
ลักษณะของดอก |
ออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามกิ่ง ออกตรงข้ามหรือเยื้องกับใบใกล้ปลายยอด หรือออกเหนือง่ามใบเล็กน้อย ดอกมีกลิ่นหอม เป็นสีเหลืองห้อยลง กลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ ด้านนอกมีขน ส่วนกลีบดอกนั้นเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองอมน้ำตาล มี 6 กลีบ กลีบดอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกจะมี 3 กลีบ มีขนาดเล็กสั้นกว่ากลีบดอกชั้นใน และกลีบดอกชั้นในมี 3 กลีบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นนอก กลีบด้านนอกมีขนขึ้นประปราย มีเกสรเพศผู้ขนาดเล็กจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ก้านชูดอกมีสีแดง ลักษณะเรียวยาว ยาวประมาณ 1.3-3.2 เซนติเมตร มีใบประดับเล็ก ๆ ติดอยู่ใกล้โคนก้าน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.6 เซนติเมตร
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลเข้ม ผิวเปลือกมักย่นเป็นสันนูนขรุขระ ไม่เป็นระเบียบ
|
ลักษณะของต้น |
เป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-5 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ตามกิ่งแก่ขนาดใหญ่
|
ประโยชน์ |
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาทั่วไปสำหรับบ้านขนาดเล็ก เพื่อช่วยบังแดดให้กับห้องทางด้านใต้และหรือทางตะวันตก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าปรับอากาศไปได้มาก อีกทั้งผลยังดูสวยงามน่ารักและเป็นอาหารนกได้ด้วย ยอดอ่อน ผลอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำไปต้มรับประทานร่วมกับน้ำพริก[6] ทางอาหารสำหรับชาวล้านนานั้นจะนิยมนำผักกลึงกล่อมมาเป็นส่วนผสมของอาหารประเภทส้า
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|