QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zingiber ottensii Valeton
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ZINGIBERACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ล้มลุก
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปขอบขนาน
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
ใบว่านไพลดำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียว โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 26-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น มีสีม่วงคล้ำ กาบใบซ้อนกันแน่น ไม่มีขนหรือมีบ้างประปราย ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน
|
ลักษณะของใบ |
ใบว่านไพลดำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียว โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 26-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น มีสีม่วงคล้ำ กาบใบซ้อนกันแน่น ไม่มีขนหรือมีบ้างประปราย ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก สีแดง และจะติดผลในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อ จากโคนต้นแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ช่อดอกยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร โดยช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกถึงเกือบกลม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน เป็นสีเหลืองอ่อน มีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบาง โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีใบประดับสีเขียวปนแดงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อย่างเป็นระเบียบดูคล้ายกับเกล็ดปลา ใบประดับเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีแดงอมเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีใส เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมีหยัก 3 หยัก โดยหยักกลางหรือกลีบปากใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปกลมแกมรูปขอบขนาน ปลายแยก 2 หยักตื้น พื้นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลอ่อน ประสีน้ำตาลแดงแกมสีชมพูอ่อน ส่วนหยักข้างมี 2 หยักสั้น ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้ปลายจะเป็นจะงอยยาวโค้ง สีเหลืองส้ม ส่วนเกสรเพศเมีย ก้านเกสรเป็นสีขาว ยอดเกสรมีลักษณะเป็นรูปกรวย สีขาว รอบ ๆ ปากมีขน และรังไข่เป็นสีขาว โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
|
รายละเอียดของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของต้น |
เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจาง ๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล
|
ประโยชน์ |
เหง้า ฝนทาแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม แก้เหน็บชา แก้เมื่อยขบ สมานแผล ขับประจำเดือน แก้บิด สมานลำไส้ น้ำมันจากเหง้า ทาถูนวดแก้เหน็บชา แก้เส้นสายตามร่างกายตึง แก้เมื่อยขบ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ กินเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้บิด ขับลม ขับประจำเดือนสตรี สมานลำไส้ เหง้าสด ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอน เก็บไว้รับประทานเช้า-เย็น วันละ 2-3 เม็ด
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|