ไม้ล้มลุก | Black Galingale

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Kaempferia parviflora Wall. ex Baker

ชื่อสามัญ

Black Galingale

ชื่ออื่น

ว่านกระชายดำ กระชายเลือด กระชายม่วง ว่านเพชรดำ

วงค์ หมวดหมู่

ZINGIBERACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ล้มลุก

ชนิดของลำต้น

ลำต้นใต้ดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

กระชายดำสามารถขยายพันธุ์โดยใช้แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลรวม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) รูปกรวย แทงออกบริเวณโคนเหง้า เรียงสลับห่อหุ้มแกนลำต้น เมื่อใบแก่ ก้านใบจะกางแยกออกจากกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเป็นกาบ สีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีมีสีเข้มม่วงอมแดง และเมื่อใบโตแผ่ขยายออกจะค่อยๆ จางเป็นสีเขียว ขอบใบมีแถบเล็กๆ สีแดงใส เส้นแขนงใบนูน ที่กลางใบเป็นทางสีม่วงอมแดง เรียกว่า เส้นกลางใบ

ลักษณะของใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) รูปกรวย แทงออกบริเวณโคนเหง้า เรียงสลับห่อหุ้มแกนลำต้น เมื่อใบแก่ ก้านใบจะกางแยกออกจากกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเป็นกาบ สีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีมีสีเข้มม่วงอมแดง และเมื่อใบโตแผ่ขยายออกจะค่อยๆ จางเป็นสีเขียว ขอบใบมีแถบเล็กๆ สีแดงใส เส้นแขนงใบนูน ที่กลางใบเป็นทางสีม่วงอมแดง เรียกว่า เส้นกลางใบ

ลักษณะของผล

ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่

ลักษณะของดอก

ดอกออกเป็นช่อ ที่เกิดจากลำต้นเหนือดิน หุ้มด้วยกาบใบ 2 ใบ ใบประดับมีกลีบ 2 กลีบ สีเขียวอ่อน ก้านช่อดอกมีสีเขียว ช่อดอกมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกที่ปลายยอดจะบานก่อน ดอกที่บานจะประกอบด้วยกลีบดอก 3 กลีบ มีกลีบใหญ่ 1 กลีบ และกลีบเล็ก 2 กลีบ กลีบดอกบริเวณตรงกลางมีสีม่วง ดอกประกอบด้วยเกสรตัวผู้ อับเรณูอยู่ใกล้เกสรตัวเมีย รังไข่มีขนอ่อนปกคลุม และก้านเกสรเป็นรูปเส้นด้าย

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

กระชายดำมีลำต้น 2 ชนิด คือ ลำต้นเหนือดิน (Aerial stem) และลำต้นใต้ดิน (Underground stem) ลำต้นเหนือดิน กลางลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบใบล้อมรอบแน่น กาบใบหรือโคนใบมีสีแดง มีลักษณะอ่อนอวบ นุ่ม หุ้มแกนลำต้นไว้ ลักษณะคล้ายขมิ้นชันใบเดี่ยว แต่มีลำต้นเล็กกว่า และเตี้ยกว่าขมิ้นมาก ลำต้นใต้ดินหรือเรียก เหง้าหรือหัว มีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี เหง้ามีการเจริญเติบโตในแนวระนาบแผ่ขนานตามพื้นดิน เหง้าแก่มีแง่ง แตกออกด้านข้างจำนวนมาก แง่งมีลักษณะแตกเป็นแขนงย่อย มีรูปร่างไม่แน่นอน ลักษณะทั่วไปเป็นรูปกระบองหรือรูปหลอด ยาว 1.5-10 เซนติเมตร หนา 1-2 เซนติเมตร เปลือกด้านนอกมีสีออกสีน้ำตาลแกมสีส้มหรือสีแดง เหง้าที่แก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา เนื้อภายในมีสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำเงินหรือสีดำ กลางเหง้ามีตาเจริญเป็นลำต้นเหนือดินหรือช่อดอก

ประโยชน์

เหง้าใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร เหง้าและราก แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก ใบ บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย