ไม้เลื้อย | Shatavar

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Asparagus racemosus Willd.

ชื่อสามัญ

Shatavar

ชื่ออื่น

จ๋วงเครือ (เหนือ) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) สามร้อยราก (กาญจนบุรี) สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน

วงค์ หมวดหมู่

ASPARAGACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้เลื้อย

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

การขยายพันธุ์รากสามสิบขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เหง้า หรือ ใช้หน่อ รวมถึงใช้เมล็ดในการปลูกก็ได้

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปเข็ม

แบ่งชนิดของผล

ผลกลุ่ม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อ เป็นฝอยเล็กๆคล้ายหางกระรอก สีเขียวดก หรือเป็นกระจุก 3-4 ใบ เรียงแบบสลับ ใบรูปเข็ม กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน ปลายใบแหลม เป็นรูปเคียว โคนใบแหลม มีหนามที่ซอกกระจุกใบ ก้านใบยาว 13-20 ซม.

ลักษณะของใบ

ใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อ เป็นฝอยเล็กๆคล้ายหางกระรอก สีเขียวดก หรือเป็นกระจุก 3-4 ใบ เรียงแบบสลับ ใบรูปเข็ม กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน ปลายใบแหลม เป็นรูปเคียว โคนใบแหลม มีหนามที่ซอกกระจุกใบ ก้านใบยาว 13-20 ซม.

ลักษณะของผล

ผลสด ค่อนข้างกลม หรือเป็น 3 พู ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดงหรือม่วงแดง เมล็ดสีดำ มี 2-6 เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พบตามป่าโปร่ง หรือเขาหินปูน

ลักษณะของดอก

ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ แบบช่อกระจะ ยาว 2-4 เซนติเมตร ดอกย่อย สีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม มี 12-17 ดอก ก้านดอกย่อย ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบรวม มี 6 กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอดรูปดอกเข็ม ปลายแยกเป็นแฉก ส่วนหลอดยาว 2-3 มิลลิเมตร ส่วนแฉกรูปช้อน ยาว 3-4 มิลลิเมตร กลีบดอกบางและย่น เกสรเพศผู้ เชื่อมและอยู่ตรงข้ามกลีบรวม ขนาดเล็กมี 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว อับเรณูสีน้ำตาลเข้ม รังไข่รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร อยู่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เมล็ด หรือมากกว่า ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นสามแฉกขนาดเล็ก

รายละเอียดของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของต้น

ไม้เลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นสีเขียว มีหนามแหลม มักเลื้อยพันตันไม้อื่น เลื้อยยาว 1.5-4 เมตร เถากลมเรียบ เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม มีเหง้าและรากใต้ดินออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย อวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว โตกว่าเถามาก ลำต้นมีหนาม เถาเล็กเรียว กลม สีเขียว

ประโยชน์

ใช้ ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก ราก มีรสเฝื่อนเย็น กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน ช่วยบำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับ ปอด บำรุงกำลัง ผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทน์แดงผสมเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก ผล มีรสเย็น ปรุงเป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้กลับ ไข้ซ้ำ มักใช้ร่วมกับผลราชดัด เพื่อดับพิษไข้จากบิดเรื้อรัง

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย