QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tabebuia rosea (Bertol.) DC.
|
ชื่อสามัญ |
Pink Tecoma
|
ชื่ออื่น |
ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู
|
วงค์ หมวดหมู่ |
BIGNONIACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
|
รูปร่างของใบ |
รูปขอบขนาน
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้ร่อง
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นผลแห้ง แตกเป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีน้ำตาล มีปีก
|
ลักษณะของดอก |
ดอกมีสีชมพูอ่อน ชมพูสดถึงสีขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มักบานพร้อมกัน ร่วงง่าย
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง
|
ลักษณะของต้น |
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง
สูงราว 8-12 เมตร ใบเป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม
ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น
เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล
ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง
|
ประโยชน์ |
ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศทนน้ำท่วมขัง และโรคแมลง โตเร็ว มีดอกดกสวยงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได
ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|