QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Rauwenhoffia siamensis Scheff.
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
น้ำจ้อย (ยโสธร), ตราแป (มลายู)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ANNONACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่มรอเลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปขอบขนาน
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ไม่มี
|
ประเภทของดอก |
ไม่มี
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหล โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22.5 เซนติเมตร
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหล โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22.5 เซนติเมตร
|
ลักษณะของผล |
ออกผลเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะมีผลย่อยประมาณ 8-15 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี และมีตุ่มปลายผลคล้ายกับเต้านมของแมว ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง เปลือกผลนิ่ม มีกลิ่นหอม ใช้รับประทานได้ โดยจะมีรสหวาน และภายในผลมีเมล็ดประมาณ 6-8 เมล็ด
|
ลักษณะของดอก |
ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้บริเวณปลายยอด กลีบดอกหนา มีกลีบ 6 กลีบ เรียงกันเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 ดอก มีขนปกคลุม กลีบนอกเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร ส่วนกลีบในคล้ายกับกลีบนอก แต่จะมีขนาดเล็กกว่า กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวลและมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ดอกจะส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็น และมีกลิ่นหอมแรงในเวลากลางคืน ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นกระจุก ส่วนกลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกเป็นสีเขียวมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปไข่กว้าง ปลายมน มีขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีเหลือง เนื้อไม้มีความเหนียวมาก กิ่งอ่อนมีขนลักษณะเป็นรูปดาวสีน้ำตาลขึ้นอยู่หนาแน่น
|
ลักษณะของต้น |
ต้นนมแมว จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยไม่ผลัดใบ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านได้มาก เกิดเป็นพุ่มใหญ่ ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีเหลือง เนื้อไม้มีความเหนียวมาก กิ่งอ่อนมีขนลักษณะเป็นรูปดาวสีน้ำตาลขึ้นอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง ควรปลูกในพื้นที่ชื้น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำปานกลาง และแสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร ต้นนมแมวเป็นพืชเฉพาะถิ่น มีถิ่นกำเนิดในทางภาคใต้ของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักพบขึ้นในป่าดิบ ตามชายป่าชื้น และตามป่าเบญจพรรณทางภาคกลางและภาคใต้
|
ประโยชน์ |
สรรพคุณของนมแมว
1.เนื้อไม้และราก ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้หวัด ไข้ทับระดู และไข้เพื่อเสมหะ (เนื้อไม้และราก)
2.รากนมแมวใช้ผสมกับรากหนามพรม และรากไส้ไก่ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกได้ดีมาก (ราก)
3.ในอดีตคนสมัยก่อนจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบ ผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำ แล้วขยี้ส่วนผสมทั้งหมดจนแตกเป็นเนื้อละเอียดจนเป็นฟองสีเหลือง แล้วนำมาทาบริเวณท้อง จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้อง ท้องเฟ้อ ในเด็กเล็กได้ (ใบ)
4.ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (ราก)
5.รากนมแมวนำมาตำผสมกับน้ำปูนใส ใช้ทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)
6.ผลนำมาตำผสมกับน้ำใช้ทาแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย (ผล)
7.รากใช้เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรี อันเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้ (ราก)
8.ตามความเชื่อของคนโบราณจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบ นำมาผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำพอประมาณ แล้วขยี้เป็นเนื้อละเอียดแตกเป็นฟองสีเหลือง ใช้ทารอบเต้านม จะช่วยทำให้เด็กที่หย่านมยาก หย่านมได้
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|