QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
กรม (ใต้); ด่าง แด่งพง (สุโขทัย) ; ตีนครึน พลึง โลก (กลาง) ; ประดงข้อ (พิจิตร) เหมือดควาย เหมือดตบ (เหนือ) เหมือดหลวง (เชียงใหม่) เหมือดใหญ่ โลด
|
วงค์ หมวดหมู่ |
EUPHORBIACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่ม
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงเวียนสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปขอบขนาน
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้ร่อง
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร ร่วงง่าย
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร ร่วงง่าย
|
ลักษณะของผล |
ผลรูปไข่ แห้งแตกตามตะเข็บ 1-2 ด้าน มีขนสีน้ำตาลปนเหลืองปกคลุม กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายเป็นแฉก ผลแก่สีน้ำตาลอมเหลือง ไม่มีก้านผล มีขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแตกเห็นภายในมีเนื้อสีส้มแดง มี 1 เมล็ด เมล็ดมีเยื่อสีเหลืองหุ้ม เมล็ดรูปขอบขนาน กว้าง 6-7 มิลลิเมตร ยาว 7-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบ
|
ลักษณะของดอก |
ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน แยกเพศ ออกเป็นช่อ แบบช่อหางกระรอก กระจุกตามซอกใบและกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้ออกเป็นแท่งยาว มีหลายช่ออยู่ด้วยกัน ไม่มีก้านช่อดอก ไม่มีกลีบดอก เป็นช่อเชิงลด 2-6 ช่อ ยาว 1-5 เซนติเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม เกสรเพศผู้มี 2 อัน ไม่มีกลีบดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมียออกเป็นช่อเดี่ยวสั้นๆ แบบช่อเชิงลด สั้นกว่าช่อดอกเพศผู้ ออกที่ซอกใบหรือที่กิ่ง ติดลำต้น อยู่เป็นกระจุก 2-8 ดอก แต่ละดอกไม่มีก้าน และมีสีเหลืองอ่อน ดอกเพศเมียยาว 2.5-4.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมี 3-6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว
|
ลักษณะของต้น |
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น
|
ประโยชน์ |
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้น เข้ายากับ ดูกข้าว ดูกไส ดูกหิน ดูกผี แตงแซง ส้มกบ ส้มมอดิน และพากส้มมอ แก้ตัวเหลือง ตาเหลือง
หมอยาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้ เข้ายาโรคกระเพาะอาหาร
หมอยาพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้ เปลือกและเนื้อไม้สด เคี้ยวแก้ไข้
ตำรายาไทย ใช้ เปลือกต้น มียางสีแดงใช้เป็นสีย้อม ปรุงเป็นยาขับลำไส้ และขับระดู แก้แน่นจุกเสียด
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|