ไม้พุ่ม | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Chloranthus erectus (Buch.-Ham.) Verdc.

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

เกตเมือง ฝอยฝา (กรุงเทพฯ), ชะพลูป่า (ตรัง), หอมไก่ (ภาคเหนือ), หอมไก๋ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) ในมาเลเซียเรียก "เกอรัส ตูรัง" ส่วนฟิลิปปินส์เรียก "บาเรา บาเรา"

วงค์ หมวดหมู่

CHLORANTHACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้พุ่ม

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงตรงข้าม

รูปร่างของใบ

รูปรี

แบ่งชนิดของผล

ผลเดี่ยว

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

ไม่มี

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปหอก รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบดูเหมือนเรียบแต่จะมีหยักเป็นฟันเลื่อยแบบตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียวสด หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มและเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 เซนติเมตร

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปหอก รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบดูเหมือนเรียบแต่จะมีหยักเป็นฟันเลื่อยแบบตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียวสด หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มและเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 เซนติเมตร

ลักษณะของผล

ผล สด สีขาว ยาว 6-7 มม. เมล็ด ค่อนข้างกลม แข็ง มี 1 เมล็ด

ลักษณะของดอก

ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ติดก้านช่อดอก แต่ละช่อประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กหลายดอก ดอกย่อยเป็นสีขาวติดเป็นก้อนกลมตามก้านช่อดอก ดอกมีกลิ่นหอม ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะมีใบประดับและเกสรเพศผู้สีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และอับเรณู 4 พู มีรังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคม

รายละเอียดของเปลือก

-

ลักษณะของต้น

จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ลักษณะคล้ายกระดูกไก่

ประโยชน์

ใบอ่อนสามารถนำมากินเป็นผักร่วมกับลาบได้ ใช้ทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกบ่อย ปลูกเลี้ยงได้ง่าย

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย