QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou.
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
กระบกคาย (ศรีสะเกษ), ชมัน (สุรินทร์), ละโมก (ตราด), พิกุลป่า (นราธิวาส), ตาโยงฮูแต (มลายู-นราธิวาส), ประดงแดง (ชลบุรี)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
CELASTRACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การเพาะเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปขอบขนาน
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลเดี่ยว
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้ร่อง
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 2.5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 2.5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย
|
ลักษณะของผล |
ผลรูปกรวยแหลม ส่วนปลายเป็นจะงอยโค้งเล็กน้อย กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 2.7-3.4 ซม. ผลแก่สีเหลืองและแตกออกตามรอยประสานด้านข้าง มี 1 เมล็ด
เมล็ดแข็ง รูปรี กว้างประมาณ 9 มม. ยาว 2-2.5 ซม. มีเนื้อสีเหลืองหุ้มตลอดหรือเพียงบางส่วน
|
ลักษณะของดอก |
ช่อดอกแบบหางกระรอกยาว 5-14 ซม. มีดอกที่มีก้านสั้นๆ จำนวนมาก ดอกเล็กมาก สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่รอบนอกจานฐานดอกที่ล้อมรอบฐานรังไข่
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว เปลือกชั้นในเป็นเสี้ยนสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมชมพู
|
ลักษณะของต้น |
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว เปลือกชั้นในเป็นเสี้ยนสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมชมพู กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง
|
ประโยชน์ |
ด้านภูมิทัศน์ เหมาะสำหรับพื้นที่กว้าง เพราะรูปทรงสูง มีพุ่มช่วงเรือนยอด ควรปลูกริมลำธาร ผลสีสวยเมื่อแตกอ้า เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
สรรพคุณ
ใบ - รสขมเมา ระงับประสาท แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|