ไม้ยืนต้น | Iron wood, Indian rose chestnut

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mesua ferrea L.

ชื่อสามัญ

Iron wood, Indian rose chestnut

ชื่ออื่น

สารภีดอย (เชียงใหม่), ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน), ปะนาคอ ประนาคอ (ปัตตานี), นาคบุตร นากบุต รากบุค (ภาคใต้), ต้นนาค

วงค์ หมวดหมู่

CALOPHYLLACEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

บุนนาคเป็นพรรณไม้ที่มีการเจริญเติบโตช้า ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่งแต่การเพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่าการตอน เพราะไม่กลายสายพันธุ์และมีอายุยืนนาน โดยมีวิธีการ คือ นำเมล็ดมาเพาะในขุยมะพร้าว รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อครบ 15 วัน จึงแยกไปชำในถุง โดยใช้ดินผสมปุ๋ยคอกเป็นวัสดุปลูก วางไว้ในร่ม รดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 7 ถึง 8 เดือน หรือเมื่อสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร จึงสามารถนำลงปลูกได้

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับระนาบเดียว

รูปร่างของใบ

รูปใบหอก

แบ่งชนิดของผล

ผลรวม

ประเภทของดอก

ดอกเดียว

ประเภทของดอก

ดอกเดียว

ประเภทของเปลือก

เปลือกไม้ร่อง

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะปราง โคนใบสอบ แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีสีชมพูออกแดง ส่วนใบแก่ด้านบนจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีนวลสีเทา มีเส้นใบข้างมากแต่ไม่เห็นชัด ใบห้อยลงเป็นพู่ ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ออกพร้อมกันทั้งต้นช่วงไม่กี่วันในแต่ละปี

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะปราง โคนใบสอบ แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีสีชมพูออกแดง ส่วนใบแก่ด้านบนจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีนวลสีเทา มีเส้นใบข้างมากแต่ไม่เห็นชัด ใบห้อยลงเป็นพู่ ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ออกพร้อมกันทั้งต้นช่วงไม่กี่วันในแต่ละปี

ลักษณะของผล

ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลแข็งมาก ส่วนปลายโค้งแหลม ปลายไม่แตก เปลือกผลมีรอยด่างสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีสีส้มแก่หรือสีม่วงน้ำตาล มีเปลือกเป็นเส้นใยห่อหุ้มอยู่ และมีหยดยางเหนียว ที่ฐานมีกลีบเลี้ยงหนารองรับอยู่ 4 กลีบติดอยู่ และจะขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล ภายในผลมีเมล็ด 1-4 เมล็ด ส่วนเมล็ดบุนนาคมีลักษณะของเมล็ดแบนและแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบซ้อนกัน ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่หัวกลับ ปลายบานและเว้า โคนสอบ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มกลีบจะแผ่กว้างออก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกราว 5-10 เซนติเมตร ดอกบุนนาคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกจะห้อยลง ก้านดอกยาวน้อยกว่า 1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้มากกว่า 50 อัน เกสรตัวผู้ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีสีเหลืองส้มและเป็นฝอย ส่วนอับเรณูเป็นสีส้ม ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีสีขาว ก้านยาว มีรังไข่ 2 ช่อง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ คล้ายรูปช้อน งอเป็นกระพุ้ง แยกเป็น 2 วง ลักษณะกลม และกลีบเลี้ยงจะแข็งหนาและอยู่คงทน เมื่อเป็นผลก็ยังคงติดกับผลอยู่ และดอกมีกลิ่นหอมเย็น ส่งกลิ่นไปได้ไกล และดอกบุนนาคจะออกดอกในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้นๆ หลุดร่วงง่าย เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย

ลักษณะของต้น

ต้นบุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ต้นบุนนาคยังจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตรอีกด้วย

ประโยชน์

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรได้ทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นดอกสดและแห้ง เกสร ใบ เมล็ด ราก เปลือก กระพี้ แก่น และผล

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย