QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Millettia leucantha Kurz
|
ชื่อสามัญ |
-
|
ชื่ออื่น |
กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LEGUMINOSAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การเพาะเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เป็นเกล็ดเล็ก
|
ลักษณะของใบ |
ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวอ่อนนิ่มคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยวแผ่นใบย่อย รูปรี กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ด้านล่างใบสีอ่อนกว่าด้านบน ใบแก่เกลี้ยง
|
ลักษณะของใบ |
ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวอ่อนนิ่มคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยวแผ่นใบย่อย รูปรี กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ด้านล่างใบสีอ่อนกว่าด้านบน ใบแก่เกลี้ยง
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานคล้ายฝักมีด มีเปลือกแข็ง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก ฝักหนึ่ง ๆ มี 1-3 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างแบนคล้ายโล่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3 เซนติเมตร
|
ลักษณะของดอก |
ดอกออกเป็นช่อกระจายแยกแขนงสีขาว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ออกพร้อมใบอ่อน รูปดอกถั่ว กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตื้น ๆ เนื้อไม้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลอมดำ
|
ลักษณะของต้น |
สาธรเป็นไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่ว ๆ ไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดกลางผลัดใบ สูง 18-20 เมตร เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก
|
ประโยชน์ |
เนื้อไม้และแก่นมีลักษณะสวยงามใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องเรือนและด้ามเครื่องมือเครื่องใช้
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|