ไม้ยืนต้น | -

First slide
QR-CODE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna garrettiana (Craib) H.S.Irwin & Barneby

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่น

ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี), ขี้เหล็กโคก ขี้เล็กแพะ (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กราบัด กะบัด (ชาวบน-นครราชสีมา), ไงซาน (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น

วงค์ หมวดหมู่

CAESALPINIOIDEAE

ประเภทพันธ์ไม้

ไม้ยืนต้น

ชนิดของลำต้น

ลำต้นเหนือดิน

สภาพทางนิเวศน์

การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

การจัดเรียงตัวของใบ

เรียงสลับ

รูปร่างของใบ

รูปไข่

แบ่งชนิดของผล

ผลรวม

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของดอก

ช่อดอก

ประเภทของเปลือก

เปลือกแตกเป็นเหลี่ยม

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 6-9 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปหอก หรือรูปหอกถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 10-15 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ส่วนหูใบเรียวเล็กและหลุดร่วงได้ง่าย

ลักษณะของใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 6-9 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปหอก หรือรูปหอกถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 10-15 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ส่วนหูใบเรียวเล็กและหลุดร่วงได้ง่าย

ลักษณะของผล

ออกผลเป็นฝักแบน ฝักมักจะบิด เปลือกฝักค่อนข้างบาง ผิวฝักเรียบเกลี้ยงไม่มีขน มีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่ฝักมักจะบิดและแตกออก และเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 10-20 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร โดยจะติดฝักในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และผลจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

ลักษณะของดอก

ออกดอกเป็นช่อใหญ่ โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือออกตามมุมก้านใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นกระจุก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ดอกย่อยเป็นสีเหลือง สีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองทอง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนกลีบดอกเรียว ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปกลม เป็นสีเขียวออกเหลือง แต่ละดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีก้านดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ติดอยู่กับผนังกลางดอก 10 อัน ก้านเกสรเป็นสีน้ำตาลมีขนาดยาวไม่เท่ากัน มีขนาดใหญ่ 2 อัน ขนาดเล็ก 5 อัน และอีก 3 อัน เป็นแบบลดรูป ส่วนรังไข่และหลอดเกสรเพศเมียเกลี้ยงหรือมีขนประปราย โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

รายละเอียดของเปลือก

เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ลำต้นขรุขระแตกเป็นร่องลึก แตกเป็นสะเก็ดเหลี่ยม

ลักษณะของต้น

จัดเป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีเนื้อไม้แข็ง กิ่งแขนงแตกเป็นเรือนยอดกลมทึบ

ประโยชน์

แก่นมีรสขมเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาแก้โลหิต แก้ลม (แก่น) , รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (ราก) ช่วยบำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ช่วยเจริญธาตุไฟ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ยอดใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน (ยอด) ดอกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นอนไม่หลับ (ดอก)

สถานที่พบ

ส่วนป่าวิทยาลัย