QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus religiosa L.
|
ชื่อสามัญ |
Sacred tree, Sacred fig, Sacred fig Tree, The peepal tree, Peepul tree, Peepul of India, Pipal tree, Pipal of India, Bo tree, Bodhi Tree
|
ชื่ออื่น |
สลี (ภาคเหนือ), สี สะหลี (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), โพ โพธิ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง), ย่อง (แม่ฮ่องสอน), ปู (เขมร), โพธิใบ เป็นต้น[1],[2],[3] ในปัจจุบันต้นโพธิ์เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี
|
วงค์ หมวดหมู่ |
MORACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใช้กิ่งชำ หรือใช้กระโดงจากราก แต่ส่วนมากแล้วจะเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา เช่น นกมากินเมล็ดและไปถ่ายทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมา
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปหัวใจ
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว (ปลายติ่งบางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของใบ) โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อลมพัดจะเห็นจะเห็นใบโพธิ์พลิ้วไปตามต้นใหญ่ดูสวยงาม ส่วนปลีที่หุ้มส่วนยอดอ่อนอ่อนสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว (ปลายติ่งบางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของใบ) โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อลมพัดจะเห็นจะเห็นใบโพธิ์พลิ้วไปตามต้นใหญ่ดูสวยงาม ส่วนปลีที่หุ้มส่วนยอดอ่อนอ่อนสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นผลรวม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง สีแดงคล้ำ หรือม่วงดำและร่วงหล่นลงมา
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อกลม ๆ รวมกันเป็นกระจุกภายในฐานรองดอกรูปคล้ายผล โดยจะออกที่ตอนปลายของกิ่ง ดอกย่อยเป็นแบบแยกเพศ ไม่มีก้าน มีใบประดับเล็กที่โคน ฐานดอกเป็นรูปทรงกลม ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองนวล และจะเจริญไปเป็นผล
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา
|
ลักษณะของต้น |
จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เมตร และมีน้ำยางสีขาว
|
ประโยชน์ |
ใบมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำใบแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว ใช้แบ่งกินก่อนอาหารเช้าและเย็น (ใบ)
ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหัวใจ (ผล)
ผลมีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับพิษ (ผล)
เมล็ดใช้เป็นยาลดไข้ (เมล็ด)
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง (ใบ)
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|