QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Davallia solida Sw.
|
ชื่อสามัญ |
Giant Hare's-Foot, Polynesian Foot Fern
|
ชื่ออื่น |
พญานาคราช ว่านนาคราช เนระพูสี นาคราชใบหยาบ
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ยังไม่จัดหมวด
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ประดับอื่นๆ
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
ทำได้ทั้งเพาะสปอร์และชำเหง้า สามารถทำได้ โดยตัดเหง้าเป็นท่อนด้วยมีดคม ให้มีตาใบอย่างน้อย 2-3 ตา และหากมีรากติดไปด้วยยิ่งดี นำไปชำไว้กับดินทราย หรือทรายผสมใบไม้ผุ โดนฝังเหง้าลงประมาณครึ่งหนึ่งของความหนา อย่ากลบเหง้าจนมิด กรณีที่มีใบติดมาด้วย อาจใช้ลวดกดทับพยุงไม่ให้ก้านใบล้ม
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับระนาบเดียว
|
รูปร่างของใบ |
รูปสามเหลี่ยม
|
แบ่งชนิดของผล |
ไม่มี
|
ประเภทของดอก |
ไม่มี
|
ประเภทของดอก |
ไม่มี
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ก้านใบ สีฟางอ่อนหรือสีน้ำตาล ยาวได้ถึง 15 ซม. ใบ รูปกึ่งสามเหลี่ยม ขนาดใบ 30 ซม. ทั้งกว้างและยาว ใบประกอบขนนก 3 ชั้น ใบย่อย เป็นคู่ออกเยื้องกัน ใบย่อยล่างใหญ่สุด รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม มีก้านเห็นได้ชัด ใบย่อยมีก้านใบ ใบรูปขอบขนาน โคนรูปลิ่ม ค่อยๆ สอบเรียวสู่ปลาย ใบย่อยเล็ก ช่วงบน หรือปลายใบ รูปขอบขนานอย่างแคบ ไม่มีก้านใบ โคนใบรูปลิ่มอย่างแคบ ปลายใบแหลมปานกลาง แกนใบเป็นร่องเห็นได้ชัด ร่องเป็นครีบไปถึงใบถัดไป เส้นใบมองเห็นได้ แต่ไม่นูนขึ้น อับสปอร์ อยู่ที่ปลายเส้นใบ ที่ริมขอบของส่วนปลายสุด ขนาด ยาวและกว้าง 1.5 มม.
|
ลักษณะของใบ |
ก้านใบ สีฟางอ่อนหรือสีน้ำตาล ยาวได้ถึง 15 ซม. ใบ รูปกึ่งสามเหลี่ยม ขนาดใบ 30 ซม. ทั้งกว้างและยาว ใบประกอบขนนก 3 ชั้น ใบย่อย เป็นคู่ออกเยื้องกัน ใบย่อยล่างใหญ่สุด รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม มีก้านเห็นได้ชัด ใบย่อยมีก้านใบ ใบรูปขอบขนาน โคนรูปลิ่ม ค่อยๆ สอบเรียวสู่ปลาย ใบย่อยเล็ก ช่วงบน หรือปลายใบ รูปขอบขนานอย่างแคบ ไม่มีก้านใบ โคนใบรูปลิ่มอย่างแคบ ปลายใบแหลมปานกลาง แกนใบเป็นร่องเห็นได้ชัด ร่องเป็นครีบไปถึงใบถัดไป เส้นใบมองเห็นได้ แต่ไม่นูนขึ้น อับสปอร์ อยู่ที่ปลายเส้นใบ ที่ริมขอบของส่วนปลายสุด ขนาด ยาวและกว้าง 1.5 มม.
|
ลักษณะของผล |
-
|
ลักษณะของดอก |
-
|
รายละเอียดของเปลือก |
-
|
ลักษณะของต้น |
มีเหง้าทอดเลื้อย มีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: เรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนก 3 ? 4 ชั้น รูปสามเหลี่ยม ยาว 60 ? 120 เซนติเมตร ก้านใบเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ดิน: วัสดุที่โปร่งร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง เช่น ดินใบก้ามปูผสมกาบมะพร้าวสับ น้ำ: ปานกลาง ความชื้นในอากาศสูง
|
ประโยชน์ |
1.เฟิร์นที่ปลูกประดับในอาคารอาจจะปลูกเป็นไม้กระถาง ใส่กระเช้าแขวน หรือจัดใส่สวนถาด หรือสวนขวด เฟิร์นที่สามารถปลูกเป็นไม้กระถางในร่มได้ เช่น เฟิร์นก้านดำชนิดต่างๆ กูดดอย ว่านไก่น้อย กูดขาบ
2.เฟิร์นหลายชนิดปลูกใส่กระเช้าแขวนได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่มีลำต้นทอดขนานและใบห้อยลง เฟิร์นที่เป็นพืชอิงอาศัยเหมาะที่จะปลูกใส่กระเช้าแขวน เนื่องจากสามารถขึ้นอยู่ในที่ที่มีความชื้นน้อยได้ดี เช่น เฟิร์นก้านดำชนิดต่างๆ เฟิร์นนาคราชชนิดต่างๆ เฟิร์นใบมะขามชนิด ต่างๆ ข้าหลวงหลังลายกระแตไต่ไม้เล็ก กระปรอกสิงห์ ชายผ้าสีดา ว่านหัวละมาน และสะโมง เป็นต้น
3.เฟิร์นที่เหมาะสำหรับปลูกในสวนถาดมักจะเป็นเฟิร์นที่ขึ้นอยู่บนหินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟิร์นที่ชอบขึ้นอยู่ตามเขาหินปูน เช่น เฟิร์นราชินี หรือเฟิร์นที่ชอบขึ้นอยู่บนลานหิน เช่น ลิ้นกุรัม ส่วนเฟิร์นที่เหมาะจะปลูก ในสวนขวดควรจะมีขนาดเล็กและชอบความชื้นสูง ได้แก่ เฟิร์นที่ขึ้นอยู่ตามลำธาร หรือตามชายน้ำ เช่น ผักกูดน้ำ ผักแว่น กูดใบบอน (Hemionitisarifolia) และกูดใบบาง (Cephalomanes javanicum) เป็นต้น
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|