QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cissus nodosa Blume
|
ชื่อสามัญ |
Javanese Treebine หรือ Grape Ivy
|
ชื่ออื่น |
ม่านบังตา, ม่านพระอินทร์
|
วงค์ หมวดหมู่ |
VITACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้เลื้อย
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การปลูกม่านบาหลีนั้น ทำได้โดยใช้วิธีการปักชำกิ่งลงในถุงดำ เมื่อเริ่มมีรากค่อยย้ายมาปลูกในกระถาง ใช้ดินได้ทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนที่สามารถระบายน้ำได้ดี มีความชื้นสูงแต่ไม่แฉะมากกว่าดินชนิดอื่น ๆ ใช้เวลาไม่นานรากใหม่ก็จะแตกออกมาเพื่อรอเลื้อยขึ้นไปพันซุ้มที่เตรียมไว้นั่นเอง รดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง หมั่นตัดแต่งรากและต้นให้อยู่ในพื้นที่ที่เรากำหนดไว้ ที่สำคัญต้องไม่ปล่อยให้รากยาวลงไปโดนน้ำที่พื้นเพราะจะทำให้เน่าได้
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปหัวใจ
|
แบ่งชนิดของผล |
ไม่มี
|
ประเภทของดอก |
ดอกสมบูรณ์เพศ
|
ประเภทของดอก |
ดอกสมบูรณ์เพศ
|
ประเภทของเปลือก |
ไม่มี
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ผิวใบมันเล็กน้อย ปลายใบเรียว ฐานใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเล็กน้อย
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ผิวใบมันเล็กน้อย ปลายใบเรียว ฐานใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเล็กน้อย
|
ลักษณะของผล |
ไม่มี
|
ลักษณะของดอก |
ดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อรวมกันอยู่ตามซอกใบ เป็นสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ จะออกดอกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ แต่พบได้ไม่มากนัก
|
รายละเอียดของเปลือก |
-
|
ลักษณะของต้น |
เป็นไม้เลื้อย ทิ้งรากเป็นเส้นสีแดงดูสวยงาม
|
ประโยชน์ |
ใช้เป็นไม้ประดับตกแต่งสวน หรือปลูกบริเวณประตูและหน้าต่าง เพื่อเพิ่มความสวยงามและน่าสนใจ รวมถึงยังทำเป็นซุ้มม่านบาหลีให้ร่มเงาและความร่มรื่นได้ด้วย แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะใบอ่อนของม่านบาหลียังมีรสเปรี้ยว จึงสามารถทำไปทำแกงหรือประกอบอาหารต่าง ๆ ได้
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|