QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gratophyllum pictum (L.) Griff
|
ชื่อสามัญ |
Caricature Plant
|
ชื่ออื่น |
ทองคำขาว
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ACANTHACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้พุ่ม
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การใช้เมล็ด การปักชำ
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
|
รูปร่างของใบ |
รูปรี
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ใบเป็นลายมีหลายสีและจะเรียกตามลักษณะที่ด่าง เช่น ใบเงิน แผ่นใบเป็นสีเขียว ที่กลางใบจะมีด่างสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนจาง ๆ แทรกอยู่
|
ลักษณะของใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ใบเป็นลายมีหลายสีและจะเรียกตามลักษณะที่ด่าง เช่น ใบเงิน แผ่นใบเป็นสีเขียว ที่กลางใบจะมีด่างสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนจาง ๆ แทรกอยู่
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นฝัก ลักษณะเป็นรูปทรงรี ปลายฝักเป็นติ่งแหลม เมื่อฝักแห้งจะแตกออกได้ และไม่ค่อยติดฝัก
|
ลักษณะของดอก |
ดอกเป็นช่อกระจุก โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีม่วงแดงหรือสีแดงเข้ม โคนกลีบดอกเป็นหลอดรูปกรวย ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นปาก 2 ปาก แยกเป็นปากบนและปากล่าง ปากล่างห้อยหัวลงมี 3 กลีบ ส่วนปากบนจะงอนขึ้นด้านบน ด้านในกลีบดอกมีขนอ่อนเต็มไปหมด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 ก้านอยู่ข้างเกสรเพศเมีย และจะผลิดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกลำต้นเรียบ
|
ลักษณะของต้น |
ลำต้นกลมเล็ก สีขาวปนเทา
|
ประโยชน์ |
เกสรช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ทุกส่วนของลำต้นใช้รักษาอาการอิดโรย อ่อนกำลัง
ใบมีรสจืดเย็น เป็นยาลดไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้พิษร้อน ถอนไข้พิษ แก้ไข้กำเดา ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ช่วยดับพิษปอดพิการ ล้อมตับดับพิษ (ช่วยป้องกันการทำลายของตับจากสารพิษและความร้อน) แก้กาฬตับ (ใบ)[1],[4] เกสรมีรสเย็นหวานเล็กน้อย เป็นยาแก้ไข้ร้อน (เกสร)[1]
ทุกส่วนของลำต้นใช้ปรุงเป็นยารักษาอาการไข้ และยังใช้เข้ายารักษาไข้สำหรับเด็กในกรณีที่เป็นไข้หอม (ทุกส่วนของลำต้น)[2]
น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหูรักษาอาการปวดหู ขับแมลงเข้าหู หยอดหูแก้คัน
ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง
น้ำคั้นจากใบใช้ปรุงเป็นยาดื่มรักษาอาการท้องผูก (น้ำคั้นจากใบ)[2]
ใบมีสรรพคุณแก้บิดมูกเลือด ขับพยาธิ (ใบ)[4] ช่วยแก้ขัดเบา มูกเลือด พิษเบื่อเมา และพยาธิ (ทุกส่วนของลำต้น)[2]
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ)[2]
ดอกมีรสเฝื่อนเล็กน้อย ใช้ชงดื่มเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี
ใบนำมาตำแล้วเอามาใช้เป็นยาทารักษาอาการปวดบวม รักษาฝี และใช้ห้ามเลือดได้ โดยเฉพาะเมื่อถูกเงี่ยงปลาตำ
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|