QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.
|
ชื่อสามัญ |
Ylang-ylang Tree
|
ชื่ออื่น |
กระดังงา (ตรัง, ยะลา), กระดังงาไทย กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)
|
วงค์ หมวดหมู่ |
ANNONACEAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ประดับอื่นๆ
|
ชนิดของลำต้น |
ไม่ระบุ
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
กระดังงาเป็นไม้เลื้อยที่เปลือกจะหนาขึ้นตามอายุ โดยสามารถตอนกิ่งได้แบบเดียวกับไม้ยืนต้น แต่มีโอกาสที่จะติดเชื้อโรค รา ทำให้กิ่งที่ชำได้มีความเปราะ กิ่งหักง่าย ส่วนใหญ่จึงนิยมจะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปไข่
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลกลุ่ม
|
ประเภทของดอก |
ช่อแยกแขนง
|
ประเภทของดอก |
ช่อแยกแขนง
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ
|
ลักษณะของผล |
ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
|
ลักษณะของดอก |
ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีเงิน พบรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขนปกคลุม
|
ลักษณะของต้น |
เป็นไม้ยืนต้น ความสูง 8-15 เมตร เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 เมตร จึงจะออกดอก
|
ประโยชน์ |
- เปลือกใช้ทำเชือก
- ดอก นำไปกลั่นน้ำหอม น้ำมันหอมระเหย ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดยจัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ด
ตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้เป็นยา
- คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอม[4]
- กระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis[5]
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|