QR-CODE |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Peltophorum pterocarpum (DC.) K.Heyne
|
ชื่อสามัญ |
Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana
|
ชื่ออื่น |
สารเงิน (แม่ฮ่องสอน), กระถินป่ากระถินแดง (ตราด), นนทรีบ้าน
|
วงค์ หมวดหมู่ |
LEGUMINOSAE
|
ประเภทพันธ์ไม้ |
ไม้ยืนต้น
|
ชนิดของลำต้น |
ลำต้นเหนือดิน
|
สภาพทางนิเวศน์ |
|
การขยายพันธ์ |
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เก็บเมล็ดที่แก่ ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ลักษณะผลแบบ pod ผลแก่สีน้ำตาลดำให้เก็บตอนที่ผลเริ่มสีน้ำตาลอ่อน การเก็บใช้ตัดช่อ นำมาตากแดด 2-3 วัน เมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดยุ้ยแล้วแกะเมล็ดออก
|
การจัดเรียงตัวของใบ |
เรียงเวียนสลับ
|
รูปร่างของใบ |
รูปขอบขนาน
|
แบ่งชนิดของผล |
ผลรวม
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของดอก |
ช่อดอก
|
ประเภทของเปลือก |
เปลือกไม้เรียบ
|
ลักษณะของใบ |
ใบออกเป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ประมาณ 9-13 คู่ แขนงบ่อยคู่ต้น ๆ จะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ที่อยู่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน
|
ลักษณะของใบ |
ใบออกเป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ประมาณ 9-13 คู่ แขนงบ่อยคู่ต้น ๆ จะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ที่อยู่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน
|
ลักษณะของผล |
เนื่องจากต้นนนทรีเป็นพืชในตระกูลถั่ว จึงออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบนเป็นรูปหอก ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ฝักสดเป็นสีเขียวพอแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดวางตัวเรียงขวางกับฝัก ประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีความแข็งแรงมีรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
|
ลักษณะของดอก |
ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งขึ้น โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง มีกิ่งแขนงในช่อดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย ดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบวางเกยทับกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน โดยทั่วไปจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และออกดอกทั้งต้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่อาจขยายเวลาได้ตามลักษณะของดินฟ้าอากาศในแต่ละปี และลักษณะของพันธุกรรมของต้นนนทรีแต่ละต้น
|
รายละเอียดของเปลือก |
เปลือกลำต้นชั้นนอกสีน้ำตาลอมเทา เปลือกเรียบหรือแตกรูปไถ (fissuredl bark) เปลือกลำต้นชั้นในสีน้ำตาลแกมชมพู ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง
|
ลักษณะของต้น |
เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยจนไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด
|
ประโยชน์ |
สรรพคุณของนนทรี
1.เปลือกต้นมีรสฝาดร้อน ใช้เป็นยากล่อมเสมหะและโลหิต (เปลือกต้น)
2.ช่วยปิดธาตุ (เปลือกต้น)
3.เปลือกต้นใช้เป็นยาขับผายลม (เปลือกต้น)
4.เปลือกต้นมีสารแทนนินสูง จึงช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสียได้ (เปลือกต้น) ด้วยการนำเปลือกต้นมาเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอาน้ำมากิน (เปลือกต้น)
5.ช่วยแก้บิด (เปลือกต้น)
6.เปลือกต้นใช้เป็นยาขับโลหิต ขับประจำเดือนของของสตรี (เปลือกต้น)
7.ใช้เป็นยาสมานแผลสด (เปลือกต้น)
8.ยอดใช้เป็นยาทาแก้โรคเจ็ด (โรคผิวหนังชิดหนึ่ง) โดยใช้ยอด 1กำมือ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับไข่ขาว (ไข่เป็ด) ใช้ทาบริเวณที่เป็น แล้วใช้ผ้าพันทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วค่อยลอกออก (ยอด)
9.เปลือกต้นนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมันเป็นยานวดแก้ตะคริว แก้กล้ามเนื้ออักเสบ
เนื้อไม้ยังนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ในงานก่อสร้างบ้านอย่างมั่นคง
|
สถานที่พบ |
ส่วนป่าวิทยาลัย
|